วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557




บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 14
วันจันทร์ ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557


วันนี้อาจารย์บอกแนวข้อสอบ ให้รางวัลเด็กดี และอวยพรให้นักศึกษาสอบได้กันทุกคน สาธุๆๆ




วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557





บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 13
วันจันทร์ ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557



เด็กสมาธิสั้น (ADHD)

การดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กสมาธิสั้น

  1. การใช้ยา
  • ปัจจุบันถือเป็นมาตรฐานการศึกษา
  • ยาที่ใช้มีความปลอดภัย และมีผลข้างเคียงน้อย
  • สามารถช่วยให้เด็กมีสมาธิดีขึ้น สงบขึ้น และควบคุมตนเองได้ดีขึ้น
     2. การปรับพฤติกรรม
  • จัดกิจวัตรประจำวันของเด็ก ให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอตามเวลาที่กำหนดไว้
  • ฝึกฝนให้เด็กมีสมาธิกับสิ่งที่ทำได้ต่อเนื่อง ประมาณ 20-30 นาที
  • ให้ความสนใจเมื่อเด็กทำตัวดี หรือเข้ามาช่วยเหลืองานบางอย่าง
  • ลงโทษให้ถูกวิธี เช่น ห้ามตี ห้ามให้เด็กทำในสิ่งที่เด็กชอบ
     3. การปรับสภาพแวดล้อม
  • สิ่งแวดล้อมต้องไม่กระตุ้นเด็กมากจนเกินไป
  • จัดเก็บของเล่นต่างๆเข้าที่ ให้พ้นจากสายตาเด็ก
  • เวลาทำงาน ควรจัดมุมสงบ ห้องต้องไม่กว้างเกินไป ไม่มีคนเดินไปมา
การสื่อสารกับเด็กสมาธิสั้น
  • สังเกตว่าเด็กอยู่ในสภาวะที่พร้อม หรือมีสมาธิ
  • ควรมีภาษาท่าทาง และการสัมผัสร่วมไปด้วยกับการพูด
  • ใช้คำพูดที่กระชับ ได้ใจความชัดเจน
  • หากเด็กกำลังเหม่อ วอกแวก หรือไม่สนใจ ควรเรียกหรือแตะตัวอย่างนุ่มนวลให้เด็กรู้สึกตัวและหันมาสนใจเสียก่อน จึงค่อยพูดคุยกับเด็ก
  • ควรเข้าไปหาเด็กและใช้กระทำร่วมด้วย เช่น จูง ลาก ไปด้วยความนุ่มนวล
  • ในกรณีมีหลายอย่างให้เด็กทำ ควรบอกทีละอย่าง ให้เสร็จทีละอย่าง แล้วค่อยบอกในสิ่งที่จะให้ทำต่อไป หรือการย่อยงานนั่นเอง
กิจกรรมบำบัดสำหรับเด็กสมาธิสั้น
  • Physical Exertion ลดภาวะไม่อยู่นิ่ง
  • Self Control ควบคุมตนเอง
  • Relaxation Training ผ่อนคลาย
โรงเรียนสำหรับเด็กสมาธิสั้น
  • เด็กสมาธิสั้น สามารถเรียนในโรงเรียนปกติทั่วไปได้
  • ควรเป็นโรงเรียนที่คุณครูมีความรู้ ความเข้าใจในโรคสมาธิสั้นดี
  • ให้ความร่วมมือในแนวทางช่วยเหลือต่างๆอย่างเต็มที่
  • สัดส่วนจำนวนเด็กต่อห้องเรียนน้อย
  • โรงเรียนที่มีพื้นที่สนามเด็กเล่น หรือสนามกีฬาที่กว้าง
บทบาทของครู
  • ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
  • ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
  • จัดให้เด็กนั่งติดนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
  • ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอริยาบทบ้าง
  • ใช้วิธีลดระยะการทำงานให้สั้นลง แต่ทำบ่อยกว่าคนอื่น
  • ไม่ควรลงโทษรุนแรง
  • ให้ความสนใจ และชื่นชมเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ดี
  • การสื่อสารกับเด็กให้ถูกวิธี
หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  • สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ
  • โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
  • ศูนย์การศึกษาพิเศษ
  • โรงเรียนเฉพาะความพิเศษ
  • สถาบันราชานุกูล
  • มูลนิธิสถาบันแสงสว่าง





บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 12
วันจันทร์ ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557



           คาบนี้อาจารย์ได้ให้ความอนุเคราะห์กลุ่มของพวกเราเป็นอย่างมาก เนื่องจากในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 มีงานใหญ่ที่พวกเราต้องจัด อาจารย์จึงได้เสียสละเวลาที่มีค่าให้กับพวกเรา
ได้ฝึกซ้อมกัน ดิฉันขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูง ที่เสียสละเวลาให้พวกเรานะค่ะ 
ด้วยความเคารพอย่างสูง

ประสบการณ์ที่ได้จากงานนี้



กิจกรรม


วันที่ฝึกซ้อม วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557




เสร็จงาน











บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 11
วันจันทร์ ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


เนื้อหาที่เรียนวันนี้

การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

วัตถุประสงค์
-เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้
-เพื่อส่งเสริมให้เด็กกล้าคิกกล้าแสดงออก
-เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ที่ถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ได้

เป้าหมาย
ทั่วไป
-เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้
-เด็กสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
เฉพาะ
-เด็กสามารถพัฒนาตนเองได้ตามขั้นตอน
-เด็กสามารถแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม

ผลที่ได้
-พัฒนาทักษะด้านต่างๆได้
-สามารถปรับตัวตามสภาพแวดล้อมและช่วยเหลือตนเองได้
-สังคมยอมรับมากขึ้น
-ลดภาวะปัญหาทางพฤติกรรม
-คุณภาพชีวิตดีขึ้น




Down's Syndrome
  • เพื่อให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
  • ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
  • เน้นการดูแลแบบองค์รวม
แนวทางการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
  1. ด้านสุขภาพอนามัย
  2. ด้านการส่งเสริมพัฒนาการ
  3. การดำรงชีวิตประจำวัน
  4. การฟื้นฟูสมรรถภาพ
การปฏิบัติของบิดา มารดา
  • ยอมรับความจริง
  • เด็กดาวน์มีพัฒนาการเป็นขั้นตอนเช่นเดียวกับเด็กทั่วไป
  • ให้ความรักและความอบอุ่น
  • การตรวจภายใน ตรวจหามะเร็งปากมดลูก และเต้านม
  • การคุมกำเนิดและการทำหมัน
  • การสอนเพศศึกษา
  • ตรวจโรคหัวใจ





Autistic
แนวทางการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ

  1. ส่งเสริมความเข้มแข็งครอบครัว
  2. ส่งเสริมความสามารถเด็ก
  3. พฤติกรรมบำบัด
  4. ส่งเสริมพัฒนาการ
  5. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์
  6. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
  7. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
  8. การรักษาด้วยยา
  9. การบำบัดทางเลือก








บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 10
วันจันทร์ ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

           

           อาจารย์บอกคะแนนสอบ สอบปลายภาคต้องได้คะแนนดีกว่านี้ สู้ตายๆๆๆ







บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 9
วันจันทร์ ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557


สอบกลางภาค


วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557



บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 8
วันจันทร์ ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เนื้อหาที่เรียน
     เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Childern with Behavioral and Emotional Disorders)
     ***เป็นอาการที่พบเยอะที่สุดในเด็กปฐมวัย

  • มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ
  • แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองและผู้อื่น
  • มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
  • เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ในอยู่ในสภาพปกตินานๆไม่ได้
  • เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
  • ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์

  • ความวิตกกังวล(Anxiety)ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว
  • ภาวะซึมเศร้า(Depression)มีความเศร้าที่อยู่ในระดับที่สูงเกินไป
  • มีปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต
การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
ด้านความประพฤติ(Conduct Disorders)

  • ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
  • ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
  • กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น
  • เอะอะและหยาบคลาย
  • หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
  • ใช้สารเสพติด หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ
ด้านความตั้งใจและสมาธิ(Attention and Concentration)

  • จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น(Short attention span)อาจไม่เกิน 20 วินาที
  • ถูกสิ่งต่างๆรอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
  • งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด
สมาธิสั้น(Attention Deficit)

  • มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆได้ หยุกหยิกไปมา
  • พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
  • มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ
การถอนตัวหรือล้มเลิก(Withdrawal)

  • หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
  • เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
  • ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก
ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย(Function disorder)

  • ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน(Eating Diorder)
  • การอาเจียนโดยสมัครใจ(Voluntary Regurgitation)
  • การปฏิเสธที่จะรับประทาน
  • รับประทานสิ่งที่รับประธานไม่ได้
  • โรคอ้วน(Obesity)
  • ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจราระและปัสสาวะ(Elimination Disorder)
ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง

  • ขาดเหตุผลในการคิด
  • อาการหลงผิด(Delusion)
  • อาการประสาทหลอน(Hallucination)
  • พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง
สาเหตุ

  • ปัจจัยทางชีวภาพ(Biology)คือ ตัวของเด็กเอง
  • ปัจจัยทางจิตสังคม(Psychosocial)คือครอบครัว สิ่งแวดล้อม
ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก

  • ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เหมือนเด็กปกติ
  • รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้
  • มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน
  • มีความคับข้องใจ มีความเก็บกดอารมณ์
  • แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย 
  • มีความหวาดกลัว
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรง

  • เด็กสมาธิสั้น(Childern with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
  • เด็กออทิสติก(Autistic)
เด็กสมาธิสั้น(Childern with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
ADHDเป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ

  • Inattentiveness
  • Hyperactivity
  • Impulsiveness
Inattentiveness(สมาธิสั้น)
  • ทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวก ไม่มีสมาธิ
  • ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ
  • มักใจลอยเหลือเหม่อลอยง่าย
  • เด็กเล็กๆ จะเล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ
  • เด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหลง ไม่ครบ ไม่ละเอียด
Hyperactivity (ซนอยู่ไม่นิ่ง)
  • ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก
  • เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
  • เหลียวซ้ายแลขวา
  • ยุกยิก เแกะโน่นเกานี่
  • อยู่ไม่สุข ปีนป่าย
  • นั่งไม่ติดที่
  • ชอบคุยส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง
Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)
  • ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้ มักทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด วู่วาม
  • ขาดความยับยั้งชั่งใจ
  • ไม่อดทนต่อการรอคอยหรือกฎระเบียบ
  • ไม่อยู่ในกติกา
  • ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง
  • พูดโพล่ง ทะลุกลางปล้อง
  • ไม่รอคอยให้คนอื่นพูดจบก่อน ชอบมาสอดแทรกเวลาคนอื่นคุยกัน
สาเหตุ
  • ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง เช่น โดปามีน นอร์อิพิเนฟริน
  • ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัว อยู่ที่สมองส่วนหน้า
  • พันธุกรรม
  • สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสมาธิสั้น
  • สมาธิสั้น ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกผิดวิธี ตามใจมากเกินไป หรือปล่อยปละละเลยจนเกินไป และไม่ใช่ความผิดของเด็กที่ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ แต่ปัญหาอยู่ที่การทำงานของสมองที่ควบคุมเรื่องสมาธิของเด็ก
ยารักษาโรคสมาธิสั้นที่มีใช้ในประเทศไทย
มี 2 กลุ่มหลักๆ


ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
  • อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน
  • ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของเล่นใช้ในวัยทารก
  • ดูดนิ้ว กัดเล็บ
  • หงอยเหงาเศร้าซึม การหนีสังคม
  • เรียกร้องความสนใจ
  • อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า
  • ขี้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว
  • ฝันกลางวัน
  • พูดเพ้อเจ้อ
เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps)
  • เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
  • เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
  • เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
  • เด็กที่หนูหนวกและตาบอด







วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2557




บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 7
วันจันทร์ ที่่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2557



เนื้อหาที่เรียน
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Children with Learning Disabilities)

      เรียกย่อๆ ว่า L.D.(Learning Disabilities) เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย

สาเหตุของ LD

  • ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้(เชื่อมโยงภาพตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
  • กรมมพันธุ์
1. ด้านการอ่าน (Reading Disorder)

  • อ่านหนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำ
  • อ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลย
  • ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้ 
เช่น
จาน    :::::> จาง/บา
ง่วง    :::::> ม่วง/ม่ง/ง่ง
เลย    :::::> เล
โบราณ :::::> โบรา
หนังสือ :::::> สือ
อรัญ   :::::> อะรัย

ลักษณะของเด็ก LD ด้านการอ่าน
  • อ่านช้า อ่านคำต่อคำ ต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้
  • อ่านออกเสียงไม่ชัด
  • เดาคำเวลาอ่าน
  • อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง
  • อ่านโดยไม่เน้นคำ หรือเน้นข้อความบางตอน
  • อ่านเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
  • ไม่รู้ความหมายเรื่องที่อ่าน
  • เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความสำคญไม่ได้
ด้านการเขียน (Writing Disorder)
  • เขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวตัวอักษร เช่น จาก ม เป็น น หรือจาก ภ เป็น ถ เป็นต้น
  • เขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด
  • เขียนสลับ เช่น สถิติ เขียนเป็น สติถิ
ลักษณะของเด็ก LD ด้านการเขียน
  • ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ
  • เรียงอักษรผิด เช่น สถิติ เขียนเป็น สติถิ
  • เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน เช่น ม-น,ภ-ถ,ด-ค,พ-ผ,b-d,p-q,6-9
  • เขียนพยัญชนะ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนเป็นตัวๆได้
  • เขียนพยัญชนะ หรือ ตัวเลขกลับด้าน คล้ายมองจากกระจกเงา
  • เขียนคำตามตัวสะกด เช่น เกษตร เป็น กะเสด
  • จับปากกาหรือดินสอแน่นมาก
  • สะกดคำผิด โดยเฉพาะคำพ้องเสียง ตัวสะกดแม่เดียวกัน ตัวการันต์
  • เขียนหนังสือช้าเพราะกลัวสะกดผิด
  • เขียนไม่ตรงบรรทัด ขนาดตัวอักษรไม่เทากัน ไม่เว้นขอบ ไม่เว้นช่องไฟ
  • ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง
ด้านการคิดคำนวณ (Mathematic Disorder)
  • ตัวเลขผิดลำดับ
  • ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลข หรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ
  • ไม่เข้าใจเลขหลักหน่วย สิบ ร้อย
  • แก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้
ลักษณะของเด็ก LD ด้านการคำนวณ
  • ไม่เข้าใจค่าของตัวเลข เช่น หลัดหน่วย สิบ ร้อย พัน หมื่น... เป็นเท่าใด
  • นับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้
  • คำนวณบวกลบคูณหารโดยการนับนิ้ว
  • จำสูตรคูณไม่ได้
  • เขียนเลขกลับกัน เช่น 13 เป็น 31
  • ทดไม่เป็นหรือยืมไม่เป็น
  • ตีโจทย์เลขไม่ออก
  • คำนวณเลขจากซ้ายไปขวาแทนที่จะทำจากขวาไปซ้าย
  • ไม่เข้าใจเรื่องเวลา
หลายๆด้านรวมกัน
อาการที่มักเกิดขึ้นกับ LD
  • แยกขนาด สี และรูปร่างไม่ออก
  • มีปัญหาเกี่ยวกับเวลา
  • เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้ายขวา
  • งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
  • การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี
  • สมาธิไม่ดี (เด็ก LD มร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
  • เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
  • ทำงานช้า
  • การวางแผนงานและจัดระบบไม่ดี
  • ฟังคำสั่งสับสน
  • คิดแบบนามธรรมหรือคิดแก้ปัญหาไม่ค่อยดี
  • ความคิดสับสนไม่เป็นขั้นตอน
  • ความสำระยะสั้น/ยาวไม่ดี
  • ถนัดซ้ายหรือถนัดทั้งซ้ายและขวา
  • ทำงานสับสนไม่เป็นขั้นตอน

ออทิสติก (Autistic)
     หรือออทิสซึ่ม (Autism) เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกหรือความต้องการของผู้อื่น ไม่สามารถสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคมได้ เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตน จะติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
"ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว"
ลักษณะของเด็กออทิสติก

  • อยู่ในโลกของตนเอง
  • ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบ
  • ไม่เข้าไปในกลุ่มเพื่อน
  • ไม่ยอมพูด
  • เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ

ดูหน้าแม่                   :::::>       ไม่มองตา
หันไปตามเสียง              :::::>       เหมือนหูหนวก
เรียนรู้คำพูดเพิ่มเติม          :::::>       เคยพูดได้ต่อมาหยุดพูด
ร้องเมื่อมีคนแปลกหน้าเข้าใกล้  :::::>      ไม่สนใจคนรอบข้าง










วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557





บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 6
วันจันทร์ ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557



ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
       ประเภทที่ 4 เด็กที่มีความบหพร่องทางการพูดและภาษา(Children With Speech and Language Disorders)
              เด็กที่มีวามบกพร่องทางการพูด
                     หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการผิดปกติในด้านความชัดเจน ในการปรับปรุงแต่ละระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะ และขั้นตอนของเสียงพูด
                     1.ความบกพร่องในการปรุงเสียง (Articulator Disorders)
                        -เสียงบางส่วนของคำหายไป ''ความ'' เป็น "คาม"
                        -ออกเสียงของตัวอื่นแทนตัวที่ถูกต้อง กิน เป็น จิน , กวาด เป็น ฟาด
                        -เพิ่มเสียงที่ไม่ใช่เสียงที่ถูกต้องลงไปด้วย หกล้ม เป็น หก กะ ล้ม
                        -เสียงเพี้ยนหรือแปล่ง แล้ว เป็น แล่ว
                     2.ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด (Speech Flow Disorders)
                        -พูดไม่ถูกตามลำดับขั้นตอน ไม่เป็นไปตามโครงสร้างของภาษา
                        -การเว้นวรรคตอนไม่ถูกต้อง
                        -อัตราการพูดเร็วหรือช้าเกินไป
                        -จังหวะของเสียงพูดผิดปกติ
                        -เสียงพูดขาดความต่อเนื่อง สละสลวย
                     3.ความบกพร่องของเสียงพูด (Voice Disorders)
                        -ความบกพร่องของระดับเสียง
                        -เสียงดังหรือค่อยเกินไป
                        -คุณภาพของเสียงไม่ดี

          ความบกพร่องทางภาษา 
                    หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมายของคำพูด และ/หรือไม่สามารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำได้
                    1.การพัฒนาด้านภาษาช้ากว่าวัย (Delayed Language)
                       -มีความยากลำบากในการใช้ภาษา
                       -มีความผิดปกติของไวยากรณ์และโครงสร้างของประโยค
                       -ไม่สามารถสร้างประโยคได้
                       -มีความบกพร่องทางเชาว์ปัญา อารมณ์ สมองผิดปกติ
                       -ภาษาที่ใช้เป็นภาษาห้วนๆ
                    2.ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง หรือโดยทั่วไปเรียก Dysphasia หรือ Aphasia
                      -อ่านไม่ออก
                      -เขียนไม่ได
                      -สะกดคำไม่ได้
                      -ใช้ภาษาสับสนยุ่งเหยิง
                      -จับคำหรือประโยคไม่ได้
                      -ไม่เข้าใจคำ
                      -พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้
                   Gerstmann's syndrome
                      -ไม่รู้ชื่อนิ้ว
                      -ไม่รู้ซ้ายขวา
                      -คำนวณไม่ได้
                      -เขียนไม่ได้
                      -อ่านไม่ออก
            ลักษณะของเด็กบกพร่องการพูดและภาษา
                -ในวัยทารกมักเงียบผิดธรรชาติ ร้องไห้เบาๆ และอ่อนแรง
                -ไม่อ้อแอ้ภายในอายุ 10 เดือน
                -ไม่พูดภายใน 2 ขวบ
                -หลัง 3 ขวบแล้วภาษาพูดของเด็กยังฟังเข้าใจยาก
                -ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้
                -หลัง 5 ขวบเด็กยังใช้ภาษาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ในระดับประถมศึกษา
                -มีปัญหาในการสื่อความหมายพูดตพกุกตะกัก
                -ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย


       ประเภทที่ 5 เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with Physical and Health Imoairments)
             -เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน
             -อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป
             -เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง
             -มีปัญหาทางระบบประสาท
             -มีความลำบากในการเคลื่อนไหว
             โรคลมชัก Epilepsy
                 -เป็นลักษณะที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง
                 -มีกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติและมากเกินไป ปล่อยออกมาจากเซลล์สมองพร้อมกัน
                  1.การชักในช่วงเวลาสั้นๆ Petit Mal
                        -อาการเหม่อนิ่งเป็นเวลา 5-10 นาที
                        -มีการกระพริบตาหรืออาจมีเคี้ยวปาก
                        -เมื่อเกิดอาการชักเด็กจะหยุดชะงักในท่าก่อนชัก
                        -เด็กอาจจะนั่งเฉยหรือเด็กอาจจะตัวสั่นเล็กน้อย
                  2.การชักแบบรุนแรง Grand Mal
                        -เมื่อเกิดอาการชัก เด็กจะไม่ส่งเสียง หมดความรู้สึก ล้มลง กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดขึ้นราว 2-5 นาที จากนั้นจะหายนอนหลับไปชั่วครู่
                  3.อาการชักแบบ Partial Complex
                        -มีอาการประมาณไม่เกิน 3 นาที
                        -เหม่อนิ่ง
                        -เหมือนรู้สึกตัวแต่ไม่รับรู้และไม่ตอบสนองต่อคำพูด
                        -หลังชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้
                   4.อาการไม่รู้สึกตัว Focal Partial
                        -เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เด็กจะไม่รู้สึกตัว อาจทำอะไรบางอย่างที่ตัวเองไม่รู้ เช่น ร้องเพลง ดึงเสื้อผ้า เดินเหม่อลอย แต่ไม่มีอาการชัก
                   5.ลมบ้าหมู Grand Mal
                        -เมื่อเกิดอาการชักจะทำให้หมดสติ และหมดความรู้สึก ในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น
            การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐาน ในกรณีเด็กมีอาการชัก
                 -จับเด็กนอนตะแคงขวาพื้นราบที่ไม่มีของแข็ง
                 -ไม่จับยึดตัวเด็กขณะชัก
                 -หาหมอนหรือสิ่งนุ่มๆรองศีรษะ
                 -ดูดน้ำลาย เสมหะ เศษอาหารออกจากปาก เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
                 -จัดเสื้อผ้าเด็กให้หลวม
                 -ห้ามนำวัตถุใดๆใส่ในปาก
                 -ทำการหายใจโดยวิธีการเป่าปากหากเด็กหยุดหายใจ
               ซี.พี. Cerebral Palsy
                    -การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทพิการ หรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด
                    -การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพีมีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่างๆ ของามองแตกต่างกัน
                    1.กลุ่มแข็งเกร็ง Spastic
                          -Spastic hemiplegia อัมพาตครึ่งซีก
                        -Spastic diplegia อัมพาตครึ่งท่อนบน
                        -Spastic paraplegia อัมพาตครึ่งท่อนล่าง
                        -Spastic quadriplegia อัมพาตทั้งต้ว
                   2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวเกิดขึ้นเอง Athetoid , Ataxia
                        -Athetoid อาการขยุกขยิกช้าๆ หรือเคลื่อนไหวเร็วๆที่เท้า แขน มือ หรือที่ใบหน้าของเด็ก เด็กบางรายอาจมีคอเอียง ปากเบี้ยวร่วมกัน
                        -Ataxia มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
                   3.กลุ่มอาการแบบผสม Mixed
                      กล้ามเนื้ออ่อนแรง Muscular Distrophy
                              -เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆ เสื่อมสลายตัว
                              -เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่
                              -จะมีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม
                     โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ Orthopedic
                              -ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจาก กระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด
                             -ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื่อ เช่น วัณโรค กระดูกหลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง เศษกระดูกผุ
                             -กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ
                     โปลิโอ Poliomyelitis
                             -มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา
                             -ยืนไม่ได้ หรือปรับสภาพให้ยืนได้ด้วยอุปกรณ์เสริม
                     โรคระบบทางเดินหายใจ
                     โรคเบาหวาน
                     โรคหัวใจ
                     โรคมะเร็ง
                     เลือดไหลไม่หยุด
                     โรคกระดูกอ่อน
                     โรคศีรษะโต
                     แขนขาด้วนแต่กำเนิด
              ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
                     -มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
                     -ท่าเดินคล้ายกรรไกร
                     -เดินขากะเผลก หรืออึดอาดเชื่องช้า
                     -ไอเสียงแห้งบ่อยๆ
                     -มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง
                     -หน้าแดงง่าย มีสีเขียวจางบนแก้ม ริมฝีปากหรือปลายนิ้ว
                     -หกล้มบ่อยๆ
                     -หิวและกระหายน้ำอย่างเกินกว่าเหตุ






วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557





บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 5
วันจันทร์ ที่ 15 กันยายน พ.ศ.2557



ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ใหญ่ๆ คือ

1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง
    มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา โดยเรียกทั่วไปว่า "เด็กปัญญาเลิศ"

    เด็กปัญญาเลิศ (Gifted Child)
         -เด็กที่มีคววามสามรถทางสติปัญญา
         -มีความสมารถถนัดเฉพาะทางสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน

   ลักษณะของเด็กปัญญาเลิศ
        -พัฒนาการทางร่างกายและจิตใจสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
        -เรียนรู้สิ่งต่างๆได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
        -อยากรู้อยากเห็นอย่างจริงจัง ชอบซักถาม
        -มีเหตุผลในการแก้ปัญหา การใช้สามัญสำนึก
        -จดจำได้รวดเร็วและแม่นยำ
        -มีความรู้ใช้ศัพท์เกินวัย
        -มีความคิดริเริ่ม มีวิธีการคิดและแนวคิดแปลกๆ
        -เป็นคนตื่นตัว เฉียบแหลม ว่องไว และช่างสังเกต
        -มีแแรงจูงใจ และมีความมานะบากบั่น มีความจริงใจในการทำงาน
        -ชอบแสวงหาสิ่งท้าทายความคิดความอ่าน 

2. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
    1. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Children with Intellectual Disabilities)
        หมายถึง เด็กที่มีสติปัญญาหรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบกับเด็กในระดับอายุเดียวกัน 
        มี 2 กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้า และเด็กปัญญาอ่อน

       เด็กเรียนช้า 
            -สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้
            -มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติ
            -ขาดทักษะในการเรียนรู้
            -มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย
            -มีระดับปัญญา (IQ)ประมาณ 71-90

       สาเหตุเรียนช้า
       1.ภายนอก
           -เศรษฐกิจครอบครัว
           -การสร้างเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก
           -สภาวะทางอารมณ์ของคนในครอบครัว
           -การเข้าเรียนไม่สม่ำเสมอ
           -วิธีการสอนไม่มีประสิทธิภาพ

      2. ภายใน
          -พัฒนาการช้า 
          -การเจ็บป่วย

เด็กปัญญาอ่อน
-ระดับสติปัญญาต่ำ
-พัฒนาการล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย
-มีพฤติกรรมการปรับตนบกพร่อง
-อาการแสดงก่อนอายุ 18

 พฤติกรรมการปรับตัว
-สื่อความหมาย
-การดูแลตนเอง
-การดำรงชีวิตภายในบ้าน
-การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม
-การใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน
-การควบคุมตนเอง
-นำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน
-การใช้เวลาว่าง
-การทำงาน
-มีสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยเบื้องต้น

เด็กปัญญาอ่อนแบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ)ได้ 4 กลุ่ม
1. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20 
2. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-30
    เรียกโดยทั่วไปว่า C.M.R. (Custodial Mental Retardation)
3. เด็กปัญญาอ่อนปานกลาง IQ  35-49
    เรียกโดยทั่วไปว่า T.M.R. (Trainable Mentally Retarded)
4. เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70
    เรียกโดยทั่วไปว่า E.M.R. (Educable Mentally Retarded)

ลักษณะเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
-ไม่พูดหรือพูดได้ไม่สมวัย
-ช่วงความสนในใจสั้น
-ความคิด และอารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย รอคอยไม่ได้
-ทำงานช้า
-รุนแรงไม่มีเหตุผล
-อวัยวะบางส่วนผิดปกติ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
-ช่วยตนเองได้น้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน


2. เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน (Children with Hearing Impaired)
    หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องหรือสูญเสียการได้ยิน เป็นสาเหตุให้การรับฟังเสียงต่างๆได้ไม่ชัดเจน มี 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และเด็กหูหนวก
เด็กหูตึง
1. หูตึงระดับน้อย ได้ยินตั้งแต่ 26-40 dB
2. หูตึงระดับปานกลาง ได้ยินตั้งแต่ 41-55 dB
3. หูตึงระดับมาก ได้ยินตั้งแต่ 56-70 dB
4. หูตึงระดับรุนแรง ได้ยินตั้งแต่ 71-90 dB

เด็กหูหนวก
-เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน
-เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้
-ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 dB ขึ้นไป

ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
-ไม่ตอบสนองเสียงพูด เสียงพูด มักตะแคงหูฟัง
-ไม่พูด มักแสดงท่าทาง
-พูดไม่ถูกไวยากรณ์
-พูดเสียงแปลกมักเปล่งเสียงพูด
-พูดด้วยเสียงต่ำ หรือด้วยเสียงที่ดังเกินความจำเป็น
-เวลาฟังมักจะมองปากของผู้พูด


3. เด็กที่บกพร่องทางการเห็น  (Children with Visual Impairments)
   -เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสง เห็นเลือนลาง
-มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง
-สามารถเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ
-มีลานสายตากว้างไม่เกิด 30 องศา

 จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ เด็กตาบอด และเด็กตาบอดไม่สนิท
เด็กตาบอด
-เด็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลย
-ต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นในการเรียนรู้
-มีสายตาข้างดีมองเห็นได้ในระยะ 6/60,20/200 ลงมาจนถึงบอดสนิท
-มีเลานสายตาเฉลี่ยสูงสุดแคบกว่า 5 องศา

เด็กตาบอดไม่สนิท
-เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา
-สามารถมองเห็นบ้างแต่ไม่เท่ากับเเด็กปกติ
-เมื่อทดสอบสายตาข้างดีจะอยู่ในระดับ 6/18,20/60.6/60,20/200 หรือน้อยกว่านั้น
-มีลานสายตาโดยเฉลี่ยไม่เกิน 30 องศา

ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
-เดินงุ่มง่าม ชน และสดุดวัตถุ
-มองเห็นสีผิดไปจากปกติ
-มักบ่นว่าปวดศีรษะ คลื่นไส้ ตาลาย คันตา
-ก้มศีรษะชิดกับงาน หรือของเล่นที่วางอยู่ข้างหน้า
-เพ่งตา หรี่ตา หรือปิดตาข้างหนึ่ง เมื่อใช้สายตา
-ตาและมือไม่สัมพันธ์กัน
-มีความลำบากในการจำ แยกแยะรูปเรขาคณิตไม่ได้นอกจากการสัมผัส










บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 4
วันจันทร์ ที่ 8 กันยายน พ.ศ.2557

นำเสนอเด็กพิเศษ 6 ประเภท

ประเภทที่ 1 CP

       CP ย่อมาจาก Cerebral Palsy หมายถึง การพิการทางสมอง ซึ่งเด็กจะมีการเคลื่อนไหวร่างกายที่ผิดปกติ การขยับแขนขา ลำตัวใบหน้า ลิ้น รวมถึงการทรงตัวที่ผิดปกติ เด็กที่เป็นโรคนี้มักมี ปัญหาในการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อปัญหาการพูดคุยและการกินและอาจจะมีปัญหาในการควบคุมลมหายใจเพื่อเปล่งเสียง ในทางการแพทย์ จัดเด็กพิการ CP เป็นภาวะพิการทางสมองชนิดหนึ่ง เด็กพิการซีพี ส่วนใหญ่สติปัญญาดี ไม่ปัญญาอ่อน ประมาณ 70-80% มีค่า IQ มากกว่า 70 บางรายมีการรับรู้ ความรู้สึกที่ผิดปกติด้วย

เด็กพิการทางสมองซีพี คือ เด็กที่มีความเสียหายของเนื้อสมองเกิดขึ้นในช่วงอายุที่สมองยังเจริญไม่เต็มที่และจะไม่สามารถคืนสู่สภาพปกติเพราะเซลล์สมองไม่สามารถแบ่งตัว เพิ่มจำนวนแทนที่ส่วนที่เสียหายได้

สาเหตุของโรค เกิดขึ้นได้ทั้งก่อน/ระหว่าง /หลังคลอด อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ หรือจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับแม่ แม่ที่มีความดันโลหิตสูงหรือเป็นโรคเบาหวานอาจเป็นปัญหากับทารกในครรภ์ นอกจากนี้ อาจเป็นปัญหาระหว่างคลอดที่เด็กได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ คลอดยาก สมองได้รับการกระทบกระเทือน เด็กคลอดก่อนกำหนด โดยปกตินั้นเด็กแรกเกิด เนื้อสมองจะยังเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ ต้องอาศัย ระยะเวลาประมาณ 6 ปีระบบประสาทส่วนต่างๆ จึงทำงานโดยสมบูรณ์ โดยในช่วง อายุ 2 ปีแรกนั้น ถือเป็นช่วงที่มีอัตราการเจริญที่รวดเร็วเกือบ 80%ของทั้งหมด

เด็กซีพี อาจจำแนกโดยลักษณะการเคลื่อนไหวได้ 4 ประเภท คือ
1. Spastic CP จะมีอาการกล้ามเนื้อเกร็งแน่น ไม่สามารถหดตัวได้เหมือนกล้ามเนื้อปกติ มีลักษณะแข็งทื่อ 
2. Ataxic CP กล้ามเนื้อจะยืดหดอย่างไม่เป็นระบบระเบียบ ทำให้ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้ หากเด็กมีความเก็บกดทางอารมณ์ หรือเมื่อเวลาตื่นเต้น กล้ามเนื้อจะยิ่งผิดปกติมากขึ้น
3. Athetoid CP มีอาการกล้ามเนื้อไม่ประสานกัน ทำให้เด็กควบคุมสมดุลย์ไม่ได้ ทำให้โซเซและหกล้มได้ง่าย ประมาณ 1 ใน 4 ของเด็กที่เป็นซีพี จะมีอาการเป็น Atheloid CP
4. Mixed CP เป็นการผสมผสานลักษณะทั้งสามคือ เด็กคนเดียวอาจมีลักษณะที่กล่าวมาแล้ว โดยประมาณกันว่า 1 ใน 4 ของคนที่เป็น ซีพี จะมีลักษณะของการผสมผสานประเภทนี้



ประเภทที่ 2 ดาวน์ซินโดรม
กลุ่มอาการดาวน์ หรือ ดาวน์ซินโดรม  Down syndrome เป็นโรคพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม เด็กกลุ่มอาการดาวน์จะมีศีรษะค่อนข้างเล็ก แบน และตาเฉียงขึ้น ดั้งจมูกแบน ปากเล็ก ลิ้นมักยื่นออกมา ตัวค่อนข้างเตี้ย มือสั้น มักมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือโรคลำไส้อุดตันตั้งแต่แรกเกิด และภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่องและปัญหาหลักคือ ภาวะปัญญาอ่อน
สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดก็คือ การมีโครโมโซมเกินไป 1 แท่ง คือ โครโมโซมคู่ที่ 21 มี 3 แท่ง แทนที่จะมี 2 แท่ง ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่าTRISOMY 21 มีมากถึง 95% สาเหตุรองลงมาเรียกว่า TRANSLOCATION คือมีโครโมโซมย้ายที่ เช่น โครโมโซมคู่ที่ 14 มายึดติดกับคู่ที่ 21 เป็นต้น พบได้ 4% ส่วนสาเหตุที่พบได้น้อยที่สุดคือมีโครโมโซมทั้ง 46 และ 47 แท่งในคนๆเดียว พบได้เพียง 1% เท่านั้นเรียกว่า MOSAIC



ประเภทที่ 3 ออทิสติก

Autism คืออะไร

     โรค Autism เป็นความผิดปกติในสมอง เด็กที่เป็นจะมีปัญหาเรื่อง การสื่อสาร ความสัมพันธ์ กับคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม เด็กบางคนสามารถสื่อสารกับผู้อื่นและก็มีความฉลาด แต่เด็กบางคนเป็นเด็กปัญญาอ่อน ไม่พูด เด็กบางคนก็มีพฤติกรมทำซ้ำซาก จะเห็นว่าเด็กแต่ละคนมีอาการไม่เหมือนกัน ความรุนแรงไม่เท่ากัน แต่จะมีปัญหาทางสังคม การสื่อสาร พฤติกรรม กล้ามเนื้อและความรู้สึก


                เด็กที่เป็น Autism                                            เด็กปกติ                                                
                    การสื่อสาร

-ไม่มองตา                                                         -ดูหน้าแม่
-เหมือนคนหูหนวก                                             -หันไปตามเสียง
-เคยพูดได้ต่อมาหยุดพูด                                    -เรียนรู้คำพูดเพิ่มเติม

              ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

-เด็กจะไม่สนใจคนรอบข้าง                                 -เด็กจะร้องเมื่อออกจากห้อง หรือมีค        -ทำร้ายคนโดยไม่มีสเหตุ                                      แปลกหน้าเข้าใกล้
-จำคนไม่ได้                                                       -ร้องเมื่อหิวหรือหงุดหงิด
                                                                         -จำหน้าแม่ได้
             ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

-นั่งเล่นอย่างใดอย่างหนึ่ง                                   -เปลี่ยนของเล่น
-มีพฤติกรรมแปลกๆ เช่น นั่งโบกมือ                    -การเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างมีจุดหมาย     -ดมหรือเลียตุ๊กตา                                                เช่น การหยิบของ
-ไม่รู้สึกเจ็บปวดชอบทำร้ายตัวเอง                       -ชอบสำรวจและเล่นตุ๊กตา
                                                                         -ชอบความสุขและกลัวความเจ็บปวด





          เมื่อยังเป็นเด็กจะมีการพัฒนาพฤติกรรมปกติ กล่าวคือ เด็กจะจ้องมองหน้าและตา หันไปตามเสียงหรือแสง จับนิ้วมือ ยิ้ม เด็กที่เป็น 
autism จะไม่สบตาพ่อแม่มักจะชอบอยู่ คนเดียว เด็กไม่ชอบการกอดรัด เด็กจะเหมือนหุ่นไม่แสดงออกถึงความรัก ความโกรธ ไม่ร้องไห้เมื่อแม่ออกนอกห้อง ไม่ดีใจเมื่อแม่กลับเข้ามา 

อาการทางสังคม

          เด็กจะมีปัญหาการเรียนรู้ เด็กจะไม่รู้ความหมายของการยิ้ม ไม่เข้าใจภาษาทางร่างกาย เช่นการกอด การจูบ ไม่เข้าใจท่าทางแสดความโกรธ จากปัญหาต่างๆดังกล่าวเด็กจะไม่สามารถเรียนรู้ความคิด อารมณ์ พฤติกรรมการแสดงออกของผู้อื่น หรือความต้องการของคนอื่น
เด็กบางคนจะแสดงความก้าวร้าวออกมา เด็กจะไม่สามารถควบคุมตัวเองในในสิ่งแวดล้อมใหม่หรือที่ๆแออัดหรือเวลาโกรธไม่พอใจ เด็กจะทำลายของเล่น หรือทำร้ายผู้อื่นหรือทำร้ายตัวเอง


ปัญหาด้านภาษา

          เด็กปกติแรกคลอกจะมีการพูดแบบเด็กๆคืออ้อแอ้ไม่เป็นภาษา เมื่อโตขึ้นก็จะหัดพูดเป็นคำๆ  หันหน้าไปตามเสียงเรียกชื่อ ชี้สิ่งที่ตัวเองต้องการ เมื่อโตขึ้นเด็กก็จะพูดประโยคสั้นๆได้ ทำตามคำสั่งง่ายๆได้ เด็กที่เป็น autism ภายใน 6 เดือนแรกก็จะพูดอ้อแอ้หลังจากนั้นจะหยุดพูด บางคนจะหยุดพูดตลอดไป การสื่อสารจะใช้สัญลักษณ์ เด็กบางคนเริ่มหัดพูดเมื่ออายุ 5-8 ปี เด็กบางคนจะพูดเป็นคำๆ เด็กไม่สามารถผสมคำได้อย่างมีความหมาย เด็กบางคนเลียนแบบคำพูดของคนอื่นหรือจำจากทีวี การพูดซ้ำมักจะพบได้เด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี เด็ก autism เด็กอาจจะพูดใช้ความหมายผิดเช่นอยากออกนอกบ้านแต่เด็กใช้คำว่าขึ้นรถแทนคำว่าออกไปข้างนอก เด็กจะไม่เข้าใจความหมายของคำว่าฉัน ของฉัน เธอ เช่น คุณชื่ออะไร เด็กจะตอบว่าคุณชื่อนนท์(ชื่อของเด็ก) การแสดงความรู้สึกบนใบหน้าก็เป็นปัญหาสำหรับเด็ก autism จะไม่สามารถแสดงสีหน้าหรือท่าทางเพื่อแสดงดีใจ เสียใจ โกรธ น้ำเสียงก็ไม่มีสูงหรือต่ำเสียงเหมือนหุ่นยนต์ เนื่องจากเด็กไม่สามารถใช้ภาษาแสดงว่าต้องการอะไร เด็กจะใช้วิธีร้องหรือแย่งของแทนที่จะขอ


พฤติกรมที่ทำซ้ำๆ

เด็ก autism จะมีร่างกายปกติแต่มักจะมีพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆทำให้ไม่สามารถเล่นกับเด็กคนอื่น
  • เด็กอาจจะนั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมืออยู่เป็นชั่วโมง
  • เด็กนั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
  • เด็กอาจจะมีพฤติกรรมที่ซ้ำๆ เช่นวิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโนน
  • เด็กอาจจะคว้ามือคนอื่นให้ดูนาฬิกาตัวเองอยู่ตลอดเวลา หรืออาจะเอาอุจาระออกจากห้องน้ำเข้าห้องเรียน
  • เด็กจะไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อมเช่น นั่งโต๊ะตัวเดียง กินอาหารเวลาเดียวกัน เด็กจะโกรธมากหากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป เช่นตำแหน่งของช้อน เก้าอี้ รูปภาพ
  • เด็กเล็กจะมีจิตนาการ เช่นสมมุติตัวเองเป็นแม่ หรือแม่ค้า เอาชามใส่แทนหมวก แต่เด็กที่เป็น autism จะไม่มีจินตนาการเช่นนี้

ปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้

          เด็กปกติจะมีการรับรู้สิ่งแวดล้อมจากสัมผัสทั้ง 5 และสมองก็สามารถที่จะแปลผลนั้นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม แต่เด็กautism จะมีปัญหาเรื่องการรับรู้จากสัมผัสทั้ง 5ทำให้เด็กสับสน เด็กอาจจะรู้สึกเจ็บปวดเมื่อต้องสัมผัสบางอย่างเช่น  รูป  รส กลิ่น เสียง เด็กบางคนเมื่อใส่เสื้อผ้าจะทำให้เด็กไม่มีสมาธิทำอย่างอื่น เด็กบางคนจะรู้สึกอึกอัดเมื่อถูกกอด เด็กบางคนอาจจะกรีดร้องเมื่อได้ยินเสียงเครื่องบิน เสียงโทรศัพท์หรือเสียงอื่นๆ
เด็กบางคนจะไม่รู้ร้อนรู้หนาว ไม่รู้สึกเจ็บปวดเด็กอาจจะหกล้มกระดูกหักแต่ไม่ร้องเลย หรืออาจจะเอาหัวโขกกำแพงโดยที่ไม่ร้อง


ความสามารถพิเศษ

        เด็ก autism บางคนมีความสามารถพิเศษหลายอย่างเช่น การวาดรูป ความจำ การเล่นดนตรี การอ่านหนังสือ การพัฒนาของเด็กปกติ การที่จะรู้ว่าเด็กมีพฤติกรรมผิดปกติต้องรู้พฤติกรรมปกติของเด็ก

การวินิจฉัย

       ปัจจุบันยังไม่การตรวจด้วยการเจาะเลือดหรือการ x-ray เพื่อวินิจฉัยโรคออทิสติก ผู้ป่วยออทิสติกแต่ละคนก็แสดงอาการไม่เหมือนกัน นอกจากนั้นอาการหลายอย่างที่พบในโรคอื่น ดังนั้นพ่อแม่ ครูและแพทย์จะต้องร่วมมือในการวินิจฉัยแยกโรค เช่นหูหนวก ปัญญาอ่อน มีปัญหาในการพูด และโรคทางสมอง หากไม่มีโรคดังกล่าวจึงส่งไปพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญทาง autism เกณฑ์การวินิจฉัยโรค autism
  • มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับสังคม
  • มีปัญหาเรื่องการสื่อสารหรือภาษา
  • มีพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆ
      เด็กที่เป็น autism มักจะมีปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง บางอาการเป็นมาก บางอาการเป็นน้อยและอาการต้องเกิดที่อายุ 3 ขวบ

สาเหตุของ Autism

         สมองของคนเราเริ่มสร้างและพัฒนาตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนกระทั่งเกิด โดยแต่ละส่วนของสมองจะมีเซลล์ประสาท neuron ที่ทำหน้าที่พิเศษไปฝังตัว หลังจากนั้นเซลล์เหล่านี้จะแบ่งตัวมากขึ้น และมีใยประสาท fibers เป็นตัวเชื่อมเซลล์ประสาท สมองจะสั่งงานโดยการหลังสาร neurotransmitters ที่รอยต่อของเซลล์ประสาท
  • สมองส่วนหน้า frontal lobe จะทำหน้าที่แก้ปัญหา การวางแผน การเข้าใจพฤติกรรมของผู้อื่น
  • สมองส่วนข้าง parietal lobe ทำหน้าที่การได้ยิน การพูด การสื่อสาร
  • สมองน้อย cerebellum ทำหน้าที่การทรงตัว การเคลื่อนไหวของร่างกาย
  • สมองส่วน corpus callossum เป็นตัวเชื่อมสมองทั้งสองข้าง
หลังจากที่เด็กเกิดสมองยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสาเหตุที่อาจจะเป็นไปได้คือ
  • การที่เซลล์ประสาทไปอยู่ผิดที่ ทำให้การทำงานของสมองผิดปกติ
  • การหลั่ง neurotransmitters ผิดปกติ

ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาของสมอง

  • พันธุกรรม พบว่าฝาแผดไข่ใบเดียวกัน หากมีคนหนึ่งเป็นอีกคนหนึ่งจะมีโอกาสสูง หากมีพี่นอนคนหนึ่งเป็นน้องก็มีความเสี่ยงสูง
  • ขณะตั้งครรภ์ ขณะเป็นตัวอ่อนในครรภ์สมองเด็กจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากมีสิ่งมากระทบสมองเด็กโดยเฉพาะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ตัวอย่างภาวะดังกล่าวได้แก่ การติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน การขาดoxygen ขณะคลอด

โรคที่พบร่วมกับ Autism

  • ปัญญาอ่อน Mental retard ประมาณร้อยละ 75-80 ของเด็กจะมีลักษณะปัญญาอ่อนไม่มากก็น้อย ร้อยละ 15-20จะปัญญาอ่อนค่อนข้างมาก โดยมีIQ น้อยกว่า 35 จะมีอยู่ประมาณร้อยละ 10ที่มีระดับ IQ ปกติ
  • โรคลมชัก Seizure ประมาณ1ใน3จะมีการชัก

ยาที่ใช้รักษาโรค Autism

       ยังไม่มียาที่จะไปเปลี่ยนเซลล์ neuron หรือการทำงานของสมอง และยังไม่มียาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนว่าเป็นยารักษาautism ยาที่ใช้รักษาเป็นยาโรคอื่นที่มีอาการใกล้เคียง
  • เนื่องจากผู้ป่วยจะมีความวิตกกังวลและซึมเศร้าการใช้ยาต้านโทมนัส เช่น fluoxetine (Prozac™), fluvoxamine (Luvox™), sertraline (Zoloft™), และ clomipramine (Anafranil™) สามารถลดอาการก้าวร้าวของผู้ป่วย
  • เด็ก autism บางคนเป็นโรคสมาธิสั้นร่วมด้วยการให้ยา Ritalin ก็สามารถให้ผลดี
  • Chlorpromazine, theoridazine, และ haloperidol เป็นยาที่รักษาผู้ป่วยจิตเวชก็สามารถลดอาการพฤติกรรมทำซ้ำๆ ลดการกระวนกระวาย
  • วิตามิน บี 6 มีรายงานว่าทำให้การทำสมองทำงานได้ดีขึ้นแต่ยังอยู่ระหว่างการทดลอง
พฤติกรรมการเข้าสังคม

       ได้มีการพัฒนาวิธีการรักษาหลายอย่างโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มทักษะในการเข้าสังคมเพื่อทดแทนพฤติกรรมที่เบี่ยงเบียน และสร้างสิ่งแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้ตามความต้องการเรียนรู้ของเด็ก การเรียนการสอนต้องมีขั้นตอนง่ายๆที่ละขั้น และต้องจูงใจเด็กให้สนใจและที่สำคัญต้องมีส่วนในการปรับพฤติกรรมของเด็ก ในการกำหนดเรื่องที่จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็ก ครู
ผู้ปกครองและผู้รักษาต้องปรึกษากัน และที่สำคัญพ่อแม่เป็นครูที่ใกล้ชิดและเป็นครูคนแรกของเด็ก
ดังนั้นต้องมีการฝึกทักษะของพ่อแม่ในการฝึกสอนเด็ก

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

        โดยอาศัยหลักว่าเมื่อทำถูกต้องหรือทำดีต้องให้รางวัล เมื่อเด็กได้สามารถพัฒนาทักษะใหม่ต้องให้รางวัลแก่เด็ก เด็กก็จะทำสิ่งนั้นซ้ำจนเกิดความชำนาญ เช่นเมื่อเด็กเริ่มมองหน้าพ่อแม่หรือครูก็จะให้รางวัล วิธีการฝึกเช่นให้เด็กนั่งเก้าอี้ ถ้าเด็กไม่นั่งก็จับเด็กนั่งแล้วรีบให้รางวัล อาจจะเป็นขนมหรือคำชมที่เด็กชอบ ทำซ้ำๆกันจนเด็กสามารถทำตามคำสั่งได้และนั่งนานพอควรจึงเปลี่ยนไปบทอื่น การใช้วิธีนี้จะได้ผลดีเมื่อทำตอนเด็กอายุน้อยๆ



ประเภทที่ 4 สมาธิสั้น

สมาธิสั้น  (Attention deficit hyperactivity disorder, ADHD) เป็นโรคประสาทประเภทความผิดปกติในการเจริญเติบโตของระบบประสาท ซึ่งจะมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียกร้องความสนใจ การแสดงออกอย่างหุนหันพันแล่น ซึ่งไม่เหมาะสมตามวัย ลักษณะอาการจะเริ่มที่อายุ 6 ขวบถึง 12 ขวบและมีอาการต่อเนื่องมากกว่า 6 เดือน พบเห็นมากในวัยที่เข้าเรียนแล้ว และมักจะส่งผลให้มีผลการเรียนที่ย่ำแย่
แม้ว่ามีการศึกษาอย่างแพร่หลายกับกลุ่มเด็กและวัยรุ่น แต่ก็ยังไม่พบสาเหตุของโรคที่เกิดกับคนส่วนใหญ่ ในจำนวนเด็กทั้งหมด พบว่ามีเด็กประมาณ 6-7% ที่เป็นโรคสมาธิสั้นเมื่อคัดตามเกณฑ์  และ 1-2% เมื่อคัดตามเกณฑ์  อัตราการเป็นโรคใกล้เคียงกันในแต่ละประเทศ และส่วนใหญ่แล้วแตกต่างกันตามวิธีการตรวจ อาการนี้มีการพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงถึง 3 เท่า ประมาณ 30-50% ของผู้ที่เข้ารับการรักษาตั้งแต่วัยเด็กมีอาการต่อจนโตเป็นผู้ใหญ่ และมีผู้ใหญ่ 2-5% ที่มีอาการสมาธิสั้น อาการสมาธิสั้นนั้นอาจจะยากที่จะแยกออกจากความผิดปกติอื่น ๆ และอาการของคนทั่วไปที่กระตือรือร้นมากกว่าปกติ
การจัดการกับโรคสมาธิสั้นมักจะเป็นการให้คำปรึกษา การเปลียนแปลงวิถีการใช้ชีวิต และการให้ยา รวมกัน แต่การให้ยานั้นแนะนำให้ใช้ในกรณีของเด็กที่มีอาการรุนแรงและอาจจะพิจารณาให้กับผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางที่ล้มเหลวจากวิธีให้คำปรึกษา ผลกระทบระยะยาวนั้นยังไม่ชัดเจน และไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กก่อนวันเรียน วัยรุ่นและผู้ใหญ่มีแนวโน้มที่จะพัฒนาทักษะในการเผชิญปัญหาได้ด้วยเช่นกัน
โรคสมาธิสั้นและการรักษาเป็นที่ถกเถียงตั้งแต่ช่วงปี 1970 มีการโต้เถียงระหว่างแพทย์กับครู ผู้กำหนดนโยบาย พ่อแม่ และสื่อ โดยหัวข้อนั้นเกี่ยวกับสาเหตุของสมาธิสั้น และการใช้ยากระตุ้นเพื่อเป็นการรักษา ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ให้การดูแลสุขภาพได้ยอมรับว่าสมาธิสั้นเป็นโรค ข้อโต้เถียงในวงการวิทยาศาสตร์จะเกี่ยวกับเกณฑ์ของอาการและวิธีการรักษา

สัญญาณและอาการ
สมาธิสั้นแบ่งได้ออกเป็น 3 กลุ่ม: กลุ่มเฉื่อยชา กลุ่มอยู่นิ่งไม่ได้ และกลุ่มที่มีการอาการทั้งสองอย่างกลุ่มเฉื่อยชามีอาการบางส่วนดังนี้
  • ฟุ้งซ่านได้อย่างได้ง่าย ขาดรายละเอียด ลืมของ และเปลี่ยนกิจกรรมหนึ่งไปยังอีกกิจกรรมหนึ่งบ่อยครั้ง
  • มีปัญหาในการมุ่งที่จะทำงานหนึ่งอย่าง
  • กลายเป็นคนเบื่องานในเวลาอันสั้น หากไม่ได้ทำงานที่สนุก
  • มีปัญหาในการมุ่งที่จะจัดระเบียบในการดำเนินงาน หรือ การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
  • มีปัญหาในการส่งการบ้าน และมักจะทำของหาย (เช่น ดินสอ ของเล่น งานที่ได้รับมอบหมาย) ที่จำเป็นต้องใช้ให้งานเสร็จ
  • ไม่ฟังเวลาที่ผู้อื่นพูด
  • ฝันกลางวัน สับสนได้ง่าย และเคลื่อนไหวช้า
  • ลำบากในการคิด การประมวลผล และไม่ถูกต้องเหมือนคนอื่น ๆ
  • ไม่ฟังตามคำแนะนำ

กลุ่มอยู่นิ่งไม่ได้จะมีอาการดังต่อไปนี้
  • อยู่ไม่เป็นที่ กระสับกระส่าย
  • พูดไม่หยุด
  • ชน แตะ เล่น กับทุกอย่างที่อยู่ในสายตา
  • มีปัญหากับการนั่งในที่ทานอาหาร นั่งในโรงเรียน ทำการบ้าน
  • มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา
  • มีปัญหาในการทำงานหรือกิจกรรมที่ใช้ความเงียบ
อาการอยู่นิ่งไม่ได้นี้มีแนวโน้มจะหายไปเมื่อมีอายุมากขึ้น และจะกลับกลายเป็นอาการ "ความระส่ำระส่ายภายใน" ในกลุ่มวัยรุ่นและกลายมาเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นสมาธิสั้น

ผู้ที่มีอาการขาดความยับยั้งชั่งใจ จะมีอาการดังต่อไปนี้
  • ไม่มีความอดทน
  • ระเบิดความคิดเห็นที่ไม่เหมาะสม แสดงอารมณ์โดยขาดการควบคุม และ แสดงโดยไม่ได้คำนึงถึงผลที่ตามมา
  • มีปัญหาในการรอคอสิ่งที่ต้องการ หรือขัดการสนทนาของบุคคลอื่น

คนที่มีสมาธิสั้นนั้นมักจะมีความยากลำบากในการเข้าสังคม เช่น การมีปฏิสัมพันธ์กันในสังคม การรักษามิตรภาพ ซึ่งเป็นอาการที่พบกับผู้ป่วยสมาธิสั้นทุกกลุ่ม เด็กและวัยรุ่นประมาณครึ่งหนึ่งที่เป็นสมาธิสั้นถูกปฏิเสธจากสังคมและเพื่อนร่วมงาน ในขณะที่มีเพียง 10-15% ของกลุ่มคนที่ไม่ได้เป็นคนสมาธิสั้นที่ถูกปฏิเสธจากสังคม ผู้ที่เป็นสมาธิสั้นมีสมาธิที่ไม่ปกติ ส่งผลให้มีความยากลำบากในการประมวลผลทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา ซึ่งอาจจะส่งผลลบต่อการการมีปฏิสัมพันธ์ในสังคม พวกเขาอาจจะเหม่อลอยในวงสนทนา ทำให้ตามวงสนทนาไม่ทัน
เด็กที่มีสมาธิสั้นจะมีความยากลำบากในการจัดการความโกรธ  มีพัฒนาการทางการพูด เขียนหนังสือและเคลื่อนไหวที่ช้า ถึงแม้ว่าโรคสมาธิสั้นจะทำให้เกิดความบกพร่องเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในสังคมสมัยใหม่ เด็กหลายคนที่มีสมาธิสั้นสามารถรวมสมาธิเพื่อทำงานที่พวกเขาสนใจได้


ประเภทที่ 5 LD
        LD ย่อมาจากคำว่า learning disorder หรือในภาษาไทยใช้ชื่อว่า โรคการเรียนรู้บกพร่อง เป็นความผิดปกติของกระบวนการเรียนรู้ที่แสดงออกทางด้านการอ่าน การเขียนสะกดคำ การคำนวณและเหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ผลการเรียนของเด็กต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง โดยที่เด็กมีสติปัญญาอยู่ในระดับปกติและมีความสามารถด้านอื่นๆปกติดี
ชนิดของโรค LD
LD แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่
1.ความบกพร่องด้านการอ่าน
      ความบกพร่องด้านการอ่านเป็นปัญหาที่พบได้มากที่สุดของเด็ก LD ทั้งหมด เด็กมีความบกพร่องในการจดจำ พยัญชนะ สระ และขาดทักษะในการสะกดคำ จึงอ่านหนังสือไม่ออกหรืออ่านช้า อ่านออกเสียงไม่ชัด ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้ อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ จับใจความเรื่องที่อ่านไม่ได้ ทำให้เด็กกลุ่มนี้มีความสามารถในการอ่านหนังสือต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่างน้อย 2 ระดับชั้นปี
2. ความบกพร่องด้านการเขียนสะกดคำ
      ความบกพร่องด้านนี้ส่วนใหญ่จะพบร่วมกับความบกพร่องด้านการอ่าน เด็กมีความบกพร่องในการเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง บางครั้งเรียงลำดับอักษรผิด จึงเขียนหนังสือและสะกดคำผิด ทำให้ไม่สามารถแสดงออก ผ่านการเขียนได้ตามระดับชั้นเรียน เด็กกลุ่มนี้จึงมีความสามารถในการเขียนสะกดคำต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่างน้อย 2 ระดับชั้นปี
3. ความบกพร่องด้านคณิตศาสตร์
       เด็กขาดทักษะและความเข้าใจค่าของตัวเลข การนับจำนวน การจำสูตรคูณ การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ จึงไม่สามารถคำนวณคำตอบจากการบวก ลบ คูณ หาร ตามกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ได้ เด็กกลุ่มนี้จึงมีความสามารถในการคิดคำนวณ ต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่างน้อย 2 ระดับชั้นปี

      สาเหตุของโรค LD 
                 การทำงานของสมองบางตำแหน่งบกพร่อง โดยเฉพาะตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และการใช้ภาษา กรรมพันธ์ุ มีพ่อแม่ หรือญาติพี่น้องเดียวกันมีปัญหา ความผิดปกติของโคโมโซม

  • ปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ที่อาจพบร่วมด้วย
เด็กมักรู้สึกหงุดหงิดและรู้สึกด้อยที่ตนเองทำไม่ได้ทัดเทียมเพื่อนๆ และอาจจะแสดงพฤติกรรม ดังนี้
    -หลีกเลี่ยงการอ่านหนังสือ
    -ไม่มีสมาธิในการเรียน ทำงานช้า ทำงานไม่เสร็จ ทำงานสะเพร่า
    -ความจำไม่ดี ได้หน้าลืมหลัง
    -รู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้
    -ไม่มั่นใจในตนเอง มักตอบว่า "ทำไม่ได้" "ไม่รู้"
    -อารมณ์ ขึ้นๆ ลงๆ หงุดหงิดง่าย ไม่อดทน
    -ก้าวร้าวกับเพื่อน พี่น้อง ครู หรือพ่อแม่
    -ขาดความภาคภูมิใจในตนเอง

       ปัญหาอย่างอื่น
              เด็ก LD มีปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ ที่พบร่วมกันได้ถึงร้อยละ 40 – 50 เช่น โรคสมาธิสั้น ความบกพร่องด้านภาษาและการสื่อสาร ปัญหาการประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อมือและสายตา
      
 การช่วยเด็ก LD 
การช่วยเหลือทางการแพทย์
       เนื่องจากโรค LD สามารถเกิดรวมกับโรคอื่นๆได้บ่อย เช่น โรคสมาธิสั้น ดังนั้นแพทย์จึงมีบทบาทในการประเมิน วินิจฉัยภาวะต่างๆที่เด็กมี ร่วมถึงให้การรักษาภาวะเหล่านั้น เช่น โรคสมาธิสั้น หากได้รับยาช่วยสมาธิ อาการของโรคก็จะดีขึ้นมาก
การช่วยเหลือทางการศึกษา
        โรงเรียนควรจัดทำแผนการเรียนรายบุคคลให้สอดคล้องกับระดับความบกพร่องของเด็กแต่ละด้าน โดยทำความเข้าใจกับครูถึงปัญหาและความบกพร่องของเด็ก เน้นการสอนเสริมในทักษะที่บกพร่อง เช่น การสะกดคำ อ่าน เขียนสอนเป็นกลุ่มย่อยหรือตัวต่อครั้งละ 30-45 นาที สัปดาห์ละ 4-5 วัน การช่วยอ่านบทเรียนให้ฟัง เพื่อให้เด็กได้เนื้อหา ความรู้ ได้เร็วขึ้น การให้เวลาในการทำสอบเพิ่มขึ้น เพื่อให้เด็กมีเวลาเพียงพอในการ อ่านโจทย์ และเขียนตอบ จะช่วยให้เด็กเรียนได้ดีขึ้น และควรส่งเสริมทักษะด้านอื่นๆ ที่เด็กสนใจ เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ เพื่อให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
การช่วยเหลือจากครอบครัว
         อธิบายให้เด็กและครอบครัวทราบถึงปัญหาและความบกพร่องเฉพาะด้านของเด็ก รวมทั้งความรู้สึกของเด็กที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ เปลี่ยนพฤติกรรมจากการตำหนิ ลงโทษ เป็นความเข้าใจ และสนับสนุนในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็ก ชื่นชมเมื่อเด็กทำสำเร็จแม้ในเรื่องเล็กน้อยให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง


ประเภทที่ 6 ปัญญาเลิศ

ปัญญาเลิศคืออะไร 
           เด็กปัญญาเลิศ (Gifted child) หรือเด็กอัจฉริยะ คือเด็กที่มีระดับสติปัญญาสูงมาก (I.Q. อาจสูงถึง 130-140) เด็กกลุ่มนี้ก็จะดู คล้ายเด็กสมาธิสั้นครับ เนื่องจากความที่เขาฉลาดมาก จึงมักมีความอยากรู้อยากเห็น มีพลังงานในตัวเองมาก นอกจากนี้เขาจะมีสมาธิดีมากใน เรื่องซึ่งตนเองสนใจ แต่ถ้าเรื่องไหนไม่อยู่ในความสนใจ ก็อาจไม่สนใจเลย จึงดูคล้ายเด็กสมาธิสั้นได้ แต่เรื่องไหนที่สนใจ เขาก็จะพยายามค้นคว้าจนมีความรู้เกินวัย ผู้เชี่ยวชาญบางท่านกำหนดเกณฑ์ของเด็กปัญญาเลิศ คือระดับสติปัญญาหรือไอคิว เกิน 130 บางท่านระดับความสามารถในการเรียน สูงกว่า 2 ชั้นปี เช่น เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แต่ความสามารถในการเรียนเทียบเท่ากับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เด็กปัญญาเลิศจะเฉลียวฉลาดกว่าเด็กวัยเดียวกัน ต้องการการปรับเปลื่ยนการเลี้ยงดู และการสอน เพื่อศักยภาพสูงสุดของเด็ก คุณพ่อคุณแม่ และคุณครูที่ดูแลเด็กปัญญาเลิศมักบอกตรงกันอย่างหนึ่งว่า ''เหนี่อย'' นาทีแรกเด็กปัญญาเลิศอาจพูดจาเกินวัย แบบผู้ใหญ่ แต่อีกนาทีต่อไปอาจหงุดหงิด อาละวาดเพราะไม่ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการ 

รู้ได้อย่างไรว่าลูกปัญญาเลิศ 

         จากการศึกษาวิจัยในรัฐ มินิโซตา ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ ปี ค.ศ. 1994 -1995 โดยศึกษาเด็กปัญญาเลิศ 241 คน อายุตั้งแต่ 2-12 ปีระดับสติปัญญาตั้งแต่ 160-237 พบว่าร้อยละ 82 ของพ่อแม่ต้องการการช่วยเหลือในเรื่องการตัดสินใจเกี่ยวกับการศึกษาของลูก 

ร้อยละ50 ของพ่อแม่บอกว่าลูกนอนน้อยกว่าเด็กอื่นๆ 
ร้อยละ94 ของเด็กมีสมาธิต่อเนื่องนานกว่าเด็กวัยเดียวกัน 
ร้อยละ91 มีพัฒนาการทางภาษาเร็ว 
ร้อยละ60 มีพัฒนาการทางกล้ามเนื้อเร็ว 
เด็กปัญญาเลิศเริ่มพูดคำแรกอายุเฉลี่ยเพียง 9 เดือน เริ่มอ่านหนังสือง่ายๆ ได้อายุ 4 ปี 
ร้อยละ 52 ไวต่อความรู้สึกเจ็บปวด 

      เราลองมาดูว่าลูกหลาน ของเรามีลักษณะเข้าข่ายเด็กปัญญาเลิศหรือไม่ โดยจะมีลักษณะดังต่อไปนี้

-เป็นนักคิดเรื่องของเหตุผล 
-มักเรียนรู้เรื่องต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว 
-สามารถจดจำคำศัพท์ ต่างๆ ได้จำนวนมาก 
-มีความจำเป็นเยี่ยม 
-ถ้าสนใจอะไรแล้วจะมีสมาธิสนใจ จดจ่อได้เป็นเวลานาน 
-เป็นคนอ่อนไหว จึงรู้สึกเจ็บปวด ผิดหวังได้ง่าย 
-คาดหวังว่าทุกอย่างต้องสมบูรณ์ (Perfectionistic) ในวัยอนุบาลเด็กปัญญาเลิศบางคนอาจจะค่อนข้างเจ้ากี้ เจ้าการ พยายามจัดการงานหรือเพื่อนๆ ตามที่ตัวเองต้องการ และจะผิดหวังง่ายเมื่อคนอื่นไม่เห็นด้วย หรือไม่ร่วมมือ เมื่อโตขึ้นเข้าวัยประถม เด็กปัญญาเลิศมักจะมีมาตรฐานสูง ทุกสิ่งทุกอย่างต้องดีพร้อม ประกอบกับชอบสั่งผู้อื่น ชอบทำตัวเป็นเจ้านาย พยายามบริหารจัดการเพื่อน ครู ไปจนถึงพ่อแม่ 
-ตึงเครียดง่าย การที่เด็กปัญญาเลิศมักจะเครียดง่าย อ่อนไหวง่าย อาจทำให้ถูกผู้ใหญ่มองว่าดื้อ ต่อต้านคุณพ่อคุณแม่หรือคุณครู โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าถูกดุว่าหรือลงโทษ หรือถูกมองว่าชอบทำอะไรแตกต่างจากคนอื่น 
-มีความรู้สึกผิดชอบ ชั่วดีสูง 
-มีความอยากรู้อยากเห็นมากกว่าเด็กทั่วไป 
-หมกมุ่นเฉพาะเรื่องที่ตนเองสนใจ 
-มีพลังมากในการทำสิ่งต่างๆ อาจถูกวินิจฉัยผิดเป็นโรคสมาธิสั้น เนื่องจากเด็กปัญญาเลิศมักมีลักษณะอ่อนไหว ตึงเครียดง่าย หุนหันพลันแล่น อดทนรออะไรไม่ได้ ค่อนข้างซน อยู่ไม่นิ่ง จึงอาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นเด็กสมาธิสั้น อย่างไรก็ตามเด็กปัญญาเลิศส่วนหนึ่งอาจเป็นโรคสมาธิสั้นร่วมด้วย
-ชอบคบเพื่อนที่อายุมากกว่าหรือผู้ใหญ่ 
-มีความสนใจในเรื่องต่างๆ มากมาย 
-มีอารมณ์ขัน แต่มักเป็นอารมณ์ขันที่เพื่อนไม่เข้าใจ 
-เป็นนักอ่านตัวยง ถ้าอายุยังน้อย เช่นวัยก่อนอนุบาล อ่านหนังสือเองไม่ได้ ก็ชอบที่จะให้พ่อแม่อ่านให้ฟัง เด็กส่วนใหญ่ถ้ายังไม่ได้เข้าโรงเรียนมักอ่านหนังสือไม่ได้ โรงเรียนอนุบาลส่วนใหญ่ก็มักจะ ยังไม่ได้สอนการอ่าน แต่เด็กปัญญาเลิศบางคนอ่านหนังสือได้เร็วกว่าปกติ และอ่านได้ตั้งแต่วัยอนุบาล 
-ผดุงความยุติธรรม ชอบความถูกต้อง เป็นธรรม 
-การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ดีเกินวัย 
-เป็นนักสังเกตการณ์ชั้นยอด 
-มีจินตนาการกว้างไกล 
-มีความคิดสร้างสรรค์ 
-ชอบซักถาม 
-มีอัจฉริยภาพด้านการคำนวณ 
-มีความสามารถสูงในการต่อจิ๊กซอว์ 
-เด็กปัญญาเลิศมักมีความมั่นใจในความสามารถเกี่ยวกับเรื่องการเรียนของตนเองสูง นอกจากนี้แล้ว ยังต้องการหลักสูตรการศึกษาซึ่งท้าทายมากกว่าเด็กทั่วๆ ไป 
-เด็กปัญญาเลิศบางคนอาจมีพรสวรรค์เป็นพิเศษในด้านดนตรี ศิลปะ วรรณกรรม หรือการคิดแบบวิทยาศาสตร์ 

ความแตกต่างระหว่างเด็กฉลาดและเด็ก gifted 

         1. เด็กฉลาด - รู้คำตอบ                               เด็กกิ๊ฟท์เต็ด - ตั้งคำถาม 
         2. เด็กฉลาด - ถูกทำให้สนใจ
                       เด็กกิ๊ฟท์เต็ด - อยากรู้อยากเห็นมาก 
                               เรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยง่าย
         3. เด็กฉลาด - มีความตั้งใจ เมื่อต้องการ       เด็กกิ๊ฟท์เต็ด - มีความสนใจเรียนรู้ซึ่งเกิด                                      เรียนรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง                                       เองโดยธรรมชาติและมาจาก                                                                                                     ใจโดยแท้
         4. เด็กฉลาด - เรียนหนัก                              เด็กกิ๊ฟท์เต็ด - เรียนสบายๆ เหมือนไม่ค่อย                                                                                                        สนใจ แต่ทำคะแนนได้ดี 
         5. เด็กฉลาด - ตอบคำถามได้เสมอ                เด็กกิ๊ฟท์เต็ด - ตั้งคำถามกับคำตอบที่ได้ยิน 
         6. เด็กฉลาด - ชอบอยู่ในแวดวงเด็ก              เด็กกิ๊ฟท์เต็ด - ชอบอยู่กับผู้ใหญ่หรือเด็กที่                                    เท่ากัน                                                          โตกว่า อายุ  

         7. เด็กฉลาด - ความจำดีมาก                        เด็กกิ๊ฟท์เต็ด - เดาเก่ง 
         8. เด็กฉลาด - เรียนรู้ง่ายและเร็ว                   เด็กกิ๊ฟท์เต็ด - เบื่อง่าย มักจะรู้คำตอบล่วง                                                                                                        หน้า 
         9. เด็กฉลาด - เป็นผู้ฟังที่ดี                           เด็กกิ๊ฟท์เต็ด - แสดงความรู้สึกและความคิด                                                                                                      เห็นอย่างเต็มที่ 
        10. เด็กฉลาด - พอใจในผลงาน                    
เด็กกิ๊ฟท์เต็ด - ติเตียนผลงานตัวเอง
                                ของตนเสมอ