วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557





บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 13
วันจันทร์ ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557



เด็กสมาธิสั้น (ADHD)

การดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กสมาธิสั้น

  1. การใช้ยา
  • ปัจจุบันถือเป็นมาตรฐานการศึกษา
  • ยาที่ใช้มีความปลอดภัย และมีผลข้างเคียงน้อย
  • สามารถช่วยให้เด็กมีสมาธิดีขึ้น สงบขึ้น และควบคุมตนเองได้ดีขึ้น
     2. การปรับพฤติกรรม
  • จัดกิจวัตรประจำวันของเด็ก ให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอตามเวลาที่กำหนดไว้
  • ฝึกฝนให้เด็กมีสมาธิกับสิ่งที่ทำได้ต่อเนื่อง ประมาณ 20-30 นาที
  • ให้ความสนใจเมื่อเด็กทำตัวดี หรือเข้ามาช่วยเหลืองานบางอย่าง
  • ลงโทษให้ถูกวิธี เช่น ห้ามตี ห้ามให้เด็กทำในสิ่งที่เด็กชอบ
     3. การปรับสภาพแวดล้อม
  • สิ่งแวดล้อมต้องไม่กระตุ้นเด็กมากจนเกินไป
  • จัดเก็บของเล่นต่างๆเข้าที่ ให้พ้นจากสายตาเด็ก
  • เวลาทำงาน ควรจัดมุมสงบ ห้องต้องไม่กว้างเกินไป ไม่มีคนเดินไปมา
การสื่อสารกับเด็กสมาธิสั้น
  • สังเกตว่าเด็กอยู่ในสภาวะที่พร้อม หรือมีสมาธิ
  • ควรมีภาษาท่าทาง และการสัมผัสร่วมไปด้วยกับการพูด
  • ใช้คำพูดที่กระชับ ได้ใจความชัดเจน
  • หากเด็กกำลังเหม่อ วอกแวก หรือไม่สนใจ ควรเรียกหรือแตะตัวอย่างนุ่มนวลให้เด็กรู้สึกตัวและหันมาสนใจเสียก่อน จึงค่อยพูดคุยกับเด็ก
  • ควรเข้าไปหาเด็กและใช้กระทำร่วมด้วย เช่น จูง ลาก ไปด้วยความนุ่มนวล
  • ในกรณีมีหลายอย่างให้เด็กทำ ควรบอกทีละอย่าง ให้เสร็จทีละอย่าง แล้วค่อยบอกในสิ่งที่จะให้ทำต่อไป หรือการย่อยงานนั่นเอง
กิจกรรมบำบัดสำหรับเด็กสมาธิสั้น
  • Physical Exertion ลดภาวะไม่อยู่นิ่ง
  • Self Control ควบคุมตนเอง
  • Relaxation Training ผ่อนคลาย
โรงเรียนสำหรับเด็กสมาธิสั้น
  • เด็กสมาธิสั้น สามารถเรียนในโรงเรียนปกติทั่วไปได้
  • ควรเป็นโรงเรียนที่คุณครูมีความรู้ ความเข้าใจในโรคสมาธิสั้นดี
  • ให้ความร่วมมือในแนวทางช่วยเหลือต่างๆอย่างเต็มที่
  • สัดส่วนจำนวนเด็กต่อห้องเรียนน้อย
  • โรงเรียนที่มีพื้นที่สนามเด็กเล่น หรือสนามกีฬาที่กว้าง
บทบาทของครู
  • ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
  • ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
  • จัดให้เด็กนั่งติดนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
  • ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอริยาบทบ้าง
  • ใช้วิธีลดระยะการทำงานให้สั้นลง แต่ทำบ่อยกว่าคนอื่น
  • ไม่ควรลงโทษรุนแรง
  • ให้ความสนใจ และชื่นชมเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ดี
  • การสื่อสารกับเด็กให้ถูกวิธี
หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  • สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ
  • โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
  • ศูนย์การศึกษาพิเศษ
  • โรงเรียนเฉพาะความพิเศษ
  • สถาบันราชานุกูล
  • มูลนิธิสถาบันแสงสว่าง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น