วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557




บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 4
วันจันทร์ ที่ 8 กันยายน พ.ศ.2557

นำเสนอเด็กพิเศษ 6 ประเภท

ประเภทที่ 1 CP

       CP ย่อมาจาก Cerebral Palsy หมายถึง การพิการทางสมอง ซึ่งเด็กจะมีการเคลื่อนไหวร่างกายที่ผิดปกติ การขยับแขนขา ลำตัวใบหน้า ลิ้น รวมถึงการทรงตัวที่ผิดปกติ เด็กที่เป็นโรคนี้มักมี ปัญหาในการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อปัญหาการพูดคุยและการกินและอาจจะมีปัญหาในการควบคุมลมหายใจเพื่อเปล่งเสียง ในทางการแพทย์ จัดเด็กพิการ CP เป็นภาวะพิการทางสมองชนิดหนึ่ง เด็กพิการซีพี ส่วนใหญ่สติปัญญาดี ไม่ปัญญาอ่อน ประมาณ 70-80% มีค่า IQ มากกว่า 70 บางรายมีการรับรู้ ความรู้สึกที่ผิดปกติด้วย

เด็กพิการทางสมองซีพี คือ เด็กที่มีความเสียหายของเนื้อสมองเกิดขึ้นในช่วงอายุที่สมองยังเจริญไม่เต็มที่และจะไม่สามารถคืนสู่สภาพปกติเพราะเซลล์สมองไม่สามารถแบ่งตัว เพิ่มจำนวนแทนที่ส่วนที่เสียหายได้

สาเหตุของโรค เกิดขึ้นได้ทั้งก่อน/ระหว่าง /หลังคลอด อาจมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ หรือจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับแม่ แม่ที่มีความดันโลหิตสูงหรือเป็นโรคเบาหวานอาจเป็นปัญหากับทารกในครรภ์ นอกจากนี้ อาจเป็นปัญหาระหว่างคลอดที่เด็กได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ คลอดยาก สมองได้รับการกระทบกระเทือน เด็กคลอดก่อนกำหนด โดยปกตินั้นเด็กแรกเกิด เนื้อสมองจะยังเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ ต้องอาศัย ระยะเวลาประมาณ 6 ปีระบบประสาทส่วนต่างๆ จึงทำงานโดยสมบูรณ์ โดยในช่วง อายุ 2 ปีแรกนั้น ถือเป็นช่วงที่มีอัตราการเจริญที่รวดเร็วเกือบ 80%ของทั้งหมด

เด็กซีพี อาจจำแนกโดยลักษณะการเคลื่อนไหวได้ 4 ประเภท คือ
1. Spastic CP จะมีอาการกล้ามเนื้อเกร็งแน่น ไม่สามารถหดตัวได้เหมือนกล้ามเนื้อปกติ มีลักษณะแข็งทื่อ 
2. Ataxic CP กล้ามเนื้อจะยืดหดอย่างไม่เป็นระบบระเบียบ ทำให้ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้ หากเด็กมีความเก็บกดทางอารมณ์ หรือเมื่อเวลาตื่นเต้น กล้ามเนื้อจะยิ่งผิดปกติมากขึ้น
3. Athetoid CP มีอาการกล้ามเนื้อไม่ประสานกัน ทำให้เด็กควบคุมสมดุลย์ไม่ได้ ทำให้โซเซและหกล้มได้ง่าย ประมาณ 1 ใน 4 ของเด็กที่เป็นซีพี จะมีอาการเป็น Atheloid CP
4. Mixed CP เป็นการผสมผสานลักษณะทั้งสามคือ เด็กคนเดียวอาจมีลักษณะที่กล่าวมาแล้ว โดยประมาณกันว่า 1 ใน 4 ของคนที่เป็น ซีพี จะมีลักษณะของการผสมผสานประเภทนี้



ประเภทที่ 2 ดาวน์ซินโดรม
กลุ่มอาการดาวน์ หรือ ดาวน์ซินโดรม  Down syndrome เป็นโรคพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม เด็กกลุ่มอาการดาวน์จะมีศีรษะค่อนข้างเล็ก แบน และตาเฉียงขึ้น ดั้งจมูกแบน ปากเล็ก ลิ้นมักยื่นออกมา ตัวค่อนข้างเตี้ย มือสั้น มักมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือโรคลำไส้อุดตันตั้งแต่แรกเกิด และภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่องและปัญหาหลักคือ ภาวะปัญญาอ่อน
สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดก็คือ การมีโครโมโซมเกินไป 1 แท่ง คือ โครโมโซมคู่ที่ 21 มี 3 แท่ง แทนที่จะมี 2 แท่ง ซึ่งทางการแพทย์เรียกว่าTRISOMY 21 มีมากถึง 95% สาเหตุรองลงมาเรียกว่า TRANSLOCATION คือมีโครโมโซมย้ายที่ เช่น โครโมโซมคู่ที่ 14 มายึดติดกับคู่ที่ 21 เป็นต้น พบได้ 4% ส่วนสาเหตุที่พบได้น้อยที่สุดคือมีโครโมโซมทั้ง 46 และ 47 แท่งในคนๆเดียว พบได้เพียง 1% เท่านั้นเรียกว่า MOSAIC



ประเภทที่ 3 ออทิสติก

Autism คืออะไร

     โรค Autism เป็นความผิดปกติในสมอง เด็กที่เป็นจะมีปัญหาเรื่อง การสื่อสาร ความสัมพันธ์ กับคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม เด็กบางคนสามารถสื่อสารกับผู้อื่นและก็มีความฉลาด แต่เด็กบางคนเป็นเด็กปัญญาอ่อน ไม่พูด เด็กบางคนก็มีพฤติกรมทำซ้ำซาก จะเห็นว่าเด็กแต่ละคนมีอาการไม่เหมือนกัน ความรุนแรงไม่เท่ากัน แต่จะมีปัญหาทางสังคม การสื่อสาร พฤติกรรม กล้ามเนื้อและความรู้สึก


                เด็กที่เป็น Autism                                            เด็กปกติ                                                
                    การสื่อสาร

-ไม่มองตา                                                         -ดูหน้าแม่
-เหมือนคนหูหนวก                                             -หันไปตามเสียง
-เคยพูดได้ต่อมาหยุดพูด                                    -เรียนรู้คำพูดเพิ่มเติม

              ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

-เด็กจะไม่สนใจคนรอบข้าง                                 -เด็กจะร้องเมื่อออกจากห้อง หรือมีค        -ทำร้ายคนโดยไม่มีสเหตุ                                      แปลกหน้าเข้าใกล้
-จำคนไม่ได้                                                       -ร้องเมื่อหิวหรือหงุดหงิด
                                                                         -จำหน้าแม่ได้
             ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม

-นั่งเล่นอย่างใดอย่างหนึ่ง                                   -เปลี่ยนของเล่น
-มีพฤติกรรมแปลกๆ เช่น นั่งโบกมือ                    -การเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างมีจุดหมาย     -ดมหรือเลียตุ๊กตา                                                เช่น การหยิบของ
-ไม่รู้สึกเจ็บปวดชอบทำร้ายตัวเอง                       -ชอบสำรวจและเล่นตุ๊กตา
                                                                         -ชอบความสุขและกลัวความเจ็บปวด





          เมื่อยังเป็นเด็กจะมีการพัฒนาพฤติกรรมปกติ กล่าวคือ เด็กจะจ้องมองหน้าและตา หันไปตามเสียงหรือแสง จับนิ้วมือ ยิ้ม เด็กที่เป็น 
autism จะไม่สบตาพ่อแม่มักจะชอบอยู่ คนเดียว เด็กไม่ชอบการกอดรัด เด็กจะเหมือนหุ่นไม่แสดงออกถึงความรัก ความโกรธ ไม่ร้องไห้เมื่อแม่ออกนอกห้อง ไม่ดีใจเมื่อแม่กลับเข้ามา 

อาการทางสังคม

          เด็กจะมีปัญหาการเรียนรู้ เด็กจะไม่รู้ความหมายของการยิ้ม ไม่เข้าใจภาษาทางร่างกาย เช่นการกอด การจูบ ไม่เข้าใจท่าทางแสดความโกรธ จากปัญหาต่างๆดังกล่าวเด็กจะไม่สามารถเรียนรู้ความคิด อารมณ์ พฤติกรรมการแสดงออกของผู้อื่น หรือความต้องการของคนอื่น
เด็กบางคนจะแสดงความก้าวร้าวออกมา เด็กจะไม่สามารถควบคุมตัวเองในในสิ่งแวดล้อมใหม่หรือที่ๆแออัดหรือเวลาโกรธไม่พอใจ เด็กจะทำลายของเล่น หรือทำร้ายผู้อื่นหรือทำร้ายตัวเอง


ปัญหาด้านภาษา

          เด็กปกติแรกคลอกจะมีการพูดแบบเด็กๆคืออ้อแอ้ไม่เป็นภาษา เมื่อโตขึ้นก็จะหัดพูดเป็นคำๆ  หันหน้าไปตามเสียงเรียกชื่อ ชี้สิ่งที่ตัวเองต้องการ เมื่อโตขึ้นเด็กก็จะพูดประโยคสั้นๆได้ ทำตามคำสั่งง่ายๆได้ เด็กที่เป็น autism ภายใน 6 เดือนแรกก็จะพูดอ้อแอ้หลังจากนั้นจะหยุดพูด บางคนจะหยุดพูดตลอดไป การสื่อสารจะใช้สัญลักษณ์ เด็กบางคนเริ่มหัดพูดเมื่ออายุ 5-8 ปี เด็กบางคนจะพูดเป็นคำๆ เด็กไม่สามารถผสมคำได้อย่างมีความหมาย เด็กบางคนเลียนแบบคำพูดของคนอื่นหรือจำจากทีวี การพูดซ้ำมักจะพบได้เด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี เด็ก autism เด็กอาจจะพูดใช้ความหมายผิดเช่นอยากออกนอกบ้านแต่เด็กใช้คำว่าขึ้นรถแทนคำว่าออกไปข้างนอก เด็กจะไม่เข้าใจความหมายของคำว่าฉัน ของฉัน เธอ เช่น คุณชื่ออะไร เด็กจะตอบว่าคุณชื่อนนท์(ชื่อของเด็ก) การแสดงความรู้สึกบนใบหน้าก็เป็นปัญหาสำหรับเด็ก autism จะไม่สามารถแสดงสีหน้าหรือท่าทางเพื่อแสดงดีใจ เสียใจ โกรธ น้ำเสียงก็ไม่มีสูงหรือต่ำเสียงเหมือนหุ่นยนต์ เนื่องจากเด็กไม่สามารถใช้ภาษาแสดงว่าต้องการอะไร เด็กจะใช้วิธีร้องหรือแย่งของแทนที่จะขอ


พฤติกรมที่ทำซ้ำๆ

เด็ก autism จะมีร่างกายปกติแต่มักจะมีพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆทำให้ไม่สามารถเล่นกับเด็กคนอื่น
  • เด็กอาจจะนั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมืออยู่เป็นชั่วโมง
  • เด็กนั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
  • เด็กอาจจะมีพฤติกรรมที่ซ้ำๆ เช่นวิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโนน
  • เด็กอาจจะคว้ามือคนอื่นให้ดูนาฬิกาตัวเองอยู่ตลอดเวลา หรืออาจะเอาอุจาระออกจากห้องน้ำเข้าห้องเรียน
  • เด็กจะไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อมเช่น นั่งโต๊ะตัวเดียง กินอาหารเวลาเดียวกัน เด็กจะโกรธมากหากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป เช่นตำแหน่งของช้อน เก้าอี้ รูปภาพ
  • เด็กเล็กจะมีจิตนาการ เช่นสมมุติตัวเองเป็นแม่ หรือแม่ค้า เอาชามใส่แทนหมวก แต่เด็กที่เป็น autism จะไม่มีจินตนาการเช่นนี้

ปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้

          เด็กปกติจะมีการรับรู้สิ่งแวดล้อมจากสัมผัสทั้ง 5 และสมองก็สามารถที่จะแปลผลนั้นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม แต่เด็กautism จะมีปัญหาเรื่องการรับรู้จากสัมผัสทั้ง 5ทำให้เด็กสับสน เด็กอาจจะรู้สึกเจ็บปวดเมื่อต้องสัมผัสบางอย่างเช่น  รูป  รส กลิ่น เสียง เด็กบางคนเมื่อใส่เสื้อผ้าจะทำให้เด็กไม่มีสมาธิทำอย่างอื่น เด็กบางคนจะรู้สึกอึกอัดเมื่อถูกกอด เด็กบางคนอาจจะกรีดร้องเมื่อได้ยินเสียงเครื่องบิน เสียงโทรศัพท์หรือเสียงอื่นๆ
เด็กบางคนจะไม่รู้ร้อนรู้หนาว ไม่รู้สึกเจ็บปวดเด็กอาจจะหกล้มกระดูกหักแต่ไม่ร้องเลย หรืออาจจะเอาหัวโขกกำแพงโดยที่ไม่ร้อง


ความสามารถพิเศษ

        เด็ก autism บางคนมีความสามารถพิเศษหลายอย่างเช่น การวาดรูป ความจำ การเล่นดนตรี การอ่านหนังสือ การพัฒนาของเด็กปกติ การที่จะรู้ว่าเด็กมีพฤติกรรมผิดปกติต้องรู้พฤติกรรมปกติของเด็ก

การวินิจฉัย

       ปัจจุบันยังไม่การตรวจด้วยการเจาะเลือดหรือการ x-ray เพื่อวินิจฉัยโรคออทิสติก ผู้ป่วยออทิสติกแต่ละคนก็แสดงอาการไม่เหมือนกัน นอกจากนั้นอาการหลายอย่างที่พบในโรคอื่น ดังนั้นพ่อแม่ ครูและแพทย์จะต้องร่วมมือในการวินิจฉัยแยกโรค เช่นหูหนวก ปัญญาอ่อน มีปัญหาในการพูด และโรคทางสมอง หากไม่มีโรคดังกล่าวจึงส่งไปพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญทาง autism เกณฑ์การวินิจฉัยโรค autism
  • มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับสังคม
  • มีปัญหาเรื่องการสื่อสารหรือภาษา
  • มีพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆ
      เด็กที่เป็น autism มักจะมีปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง บางอาการเป็นมาก บางอาการเป็นน้อยและอาการต้องเกิดที่อายุ 3 ขวบ

สาเหตุของ Autism

         สมองของคนเราเริ่มสร้างและพัฒนาตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนกระทั่งเกิด โดยแต่ละส่วนของสมองจะมีเซลล์ประสาท neuron ที่ทำหน้าที่พิเศษไปฝังตัว หลังจากนั้นเซลล์เหล่านี้จะแบ่งตัวมากขึ้น และมีใยประสาท fibers เป็นตัวเชื่อมเซลล์ประสาท สมองจะสั่งงานโดยการหลังสาร neurotransmitters ที่รอยต่อของเซลล์ประสาท
  • สมองส่วนหน้า frontal lobe จะทำหน้าที่แก้ปัญหา การวางแผน การเข้าใจพฤติกรรมของผู้อื่น
  • สมองส่วนข้าง parietal lobe ทำหน้าที่การได้ยิน การพูด การสื่อสาร
  • สมองน้อย cerebellum ทำหน้าที่การทรงตัว การเคลื่อนไหวของร่างกาย
  • สมองส่วน corpus callossum เป็นตัวเชื่อมสมองทั้งสองข้าง
หลังจากที่เด็กเกิดสมองยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสาเหตุที่อาจจะเป็นไปได้คือ
  • การที่เซลล์ประสาทไปอยู่ผิดที่ ทำให้การทำงานของสมองผิดปกติ
  • การหลั่ง neurotransmitters ผิดปกติ

ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาของสมอง

  • พันธุกรรม พบว่าฝาแผดไข่ใบเดียวกัน หากมีคนหนึ่งเป็นอีกคนหนึ่งจะมีโอกาสสูง หากมีพี่นอนคนหนึ่งเป็นน้องก็มีความเสี่ยงสูง
  • ขณะตั้งครรภ์ ขณะเป็นตัวอ่อนในครรภ์สมองเด็กจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากมีสิ่งมากระทบสมองเด็กโดยเฉพาะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ตัวอย่างภาวะดังกล่าวได้แก่ การติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน การขาดoxygen ขณะคลอด

โรคที่พบร่วมกับ Autism

  • ปัญญาอ่อน Mental retard ประมาณร้อยละ 75-80 ของเด็กจะมีลักษณะปัญญาอ่อนไม่มากก็น้อย ร้อยละ 15-20จะปัญญาอ่อนค่อนข้างมาก โดยมีIQ น้อยกว่า 35 จะมีอยู่ประมาณร้อยละ 10ที่มีระดับ IQ ปกติ
  • โรคลมชัก Seizure ประมาณ1ใน3จะมีการชัก

ยาที่ใช้รักษาโรค Autism

       ยังไม่มียาที่จะไปเปลี่ยนเซลล์ neuron หรือการทำงานของสมอง และยังไม่มียาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนว่าเป็นยารักษาautism ยาที่ใช้รักษาเป็นยาโรคอื่นที่มีอาการใกล้เคียง
  • เนื่องจากผู้ป่วยจะมีความวิตกกังวลและซึมเศร้าการใช้ยาต้านโทมนัส เช่น fluoxetine (Prozac™), fluvoxamine (Luvox™), sertraline (Zoloft™), และ clomipramine (Anafranil™) สามารถลดอาการก้าวร้าวของผู้ป่วย
  • เด็ก autism บางคนเป็นโรคสมาธิสั้นร่วมด้วยการให้ยา Ritalin ก็สามารถให้ผลดี
  • Chlorpromazine, theoridazine, และ haloperidol เป็นยาที่รักษาผู้ป่วยจิตเวชก็สามารถลดอาการพฤติกรรมทำซ้ำๆ ลดการกระวนกระวาย
  • วิตามิน บี 6 มีรายงานว่าทำให้การทำสมองทำงานได้ดีขึ้นแต่ยังอยู่ระหว่างการทดลอง
พฤติกรรมการเข้าสังคม

       ได้มีการพัฒนาวิธีการรักษาหลายอย่างโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มทักษะในการเข้าสังคมเพื่อทดแทนพฤติกรรมที่เบี่ยงเบียน และสร้างสิ่งแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้ตามความต้องการเรียนรู้ของเด็ก การเรียนการสอนต้องมีขั้นตอนง่ายๆที่ละขั้น และต้องจูงใจเด็กให้สนใจและที่สำคัญต้องมีส่วนในการปรับพฤติกรรมของเด็ก ในการกำหนดเรื่องที่จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็ก ครู
ผู้ปกครองและผู้รักษาต้องปรึกษากัน และที่สำคัญพ่อแม่เป็นครูที่ใกล้ชิดและเป็นครูคนแรกของเด็ก
ดังนั้นต้องมีการฝึกทักษะของพ่อแม่ในการฝึกสอนเด็ก

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

        โดยอาศัยหลักว่าเมื่อทำถูกต้องหรือทำดีต้องให้รางวัล เมื่อเด็กได้สามารถพัฒนาทักษะใหม่ต้องให้รางวัลแก่เด็ก เด็กก็จะทำสิ่งนั้นซ้ำจนเกิดความชำนาญ เช่นเมื่อเด็กเริ่มมองหน้าพ่อแม่หรือครูก็จะให้รางวัล วิธีการฝึกเช่นให้เด็กนั่งเก้าอี้ ถ้าเด็กไม่นั่งก็จับเด็กนั่งแล้วรีบให้รางวัล อาจจะเป็นขนมหรือคำชมที่เด็กชอบ ทำซ้ำๆกันจนเด็กสามารถทำตามคำสั่งได้และนั่งนานพอควรจึงเปลี่ยนไปบทอื่น การใช้วิธีนี้จะได้ผลดีเมื่อทำตอนเด็กอายุน้อยๆ



ประเภทที่ 4 สมาธิสั้น

สมาธิสั้น  (Attention deficit hyperactivity disorder, ADHD) เป็นโรคประสาทประเภทความผิดปกติในการเจริญเติบโตของระบบประสาท ซึ่งจะมีปัญหาเกี่ยวกับการเรียกร้องความสนใจ การแสดงออกอย่างหุนหันพันแล่น ซึ่งไม่เหมาะสมตามวัย ลักษณะอาการจะเริ่มที่อายุ 6 ขวบถึง 12 ขวบและมีอาการต่อเนื่องมากกว่า 6 เดือน พบเห็นมากในวัยที่เข้าเรียนแล้ว และมักจะส่งผลให้มีผลการเรียนที่ย่ำแย่
แม้ว่ามีการศึกษาอย่างแพร่หลายกับกลุ่มเด็กและวัยรุ่น แต่ก็ยังไม่พบสาเหตุของโรคที่เกิดกับคนส่วนใหญ่ ในจำนวนเด็กทั้งหมด พบว่ามีเด็กประมาณ 6-7% ที่เป็นโรคสมาธิสั้นเมื่อคัดตามเกณฑ์  และ 1-2% เมื่อคัดตามเกณฑ์  อัตราการเป็นโรคใกล้เคียงกันในแต่ละประเทศ และส่วนใหญ่แล้วแตกต่างกันตามวิธีการตรวจ อาการนี้มีการพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิงถึง 3 เท่า ประมาณ 30-50% ของผู้ที่เข้ารับการรักษาตั้งแต่วัยเด็กมีอาการต่อจนโตเป็นผู้ใหญ่ และมีผู้ใหญ่ 2-5% ที่มีอาการสมาธิสั้น อาการสมาธิสั้นนั้นอาจจะยากที่จะแยกออกจากความผิดปกติอื่น ๆ และอาการของคนทั่วไปที่กระตือรือร้นมากกว่าปกติ
การจัดการกับโรคสมาธิสั้นมักจะเป็นการให้คำปรึกษา การเปลียนแปลงวิถีการใช้ชีวิต และการให้ยา รวมกัน แต่การให้ยานั้นแนะนำให้ใช้ในกรณีของเด็กที่มีอาการรุนแรงและอาจจะพิจารณาให้กับผู้ป่วยที่มีอาการปานกลางที่ล้มเหลวจากวิธีให้คำปรึกษา ผลกระทบระยะยาวนั้นยังไม่ชัดเจน และไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กก่อนวันเรียน วัยรุ่นและผู้ใหญ่มีแนวโน้มที่จะพัฒนาทักษะในการเผชิญปัญหาได้ด้วยเช่นกัน
โรคสมาธิสั้นและการรักษาเป็นที่ถกเถียงตั้งแต่ช่วงปี 1970 มีการโต้เถียงระหว่างแพทย์กับครู ผู้กำหนดนโยบาย พ่อแม่ และสื่อ โดยหัวข้อนั้นเกี่ยวกับสาเหตุของสมาธิสั้น และการใช้ยากระตุ้นเพื่อเป็นการรักษา ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ให้การดูแลสุขภาพได้ยอมรับว่าสมาธิสั้นเป็นโรค ข้อโต้เถียงในวงการวิทยาศาสตร์จะเกี่ยวกับเกณฑ์ของอาการและวิธีการรักษา

สัญญาณและอาการ
สมาธิสั้นแบ่งได้ออกเป็น 3 กลุ่ม: กลุ่มเฉื่อยชา กลุ่มอยู่นิ่งไม่ได้ และกลุ่มที่มีการอาการทั้งสองอย่างกลุ่มเฉื่อยชามีอาการบางส่วนดังนี้
  • ฟุ้งซ่านได้อย่างได้ง่าย ขาดรายละเอียด ลืมของ และเปลี่ยนกิจกรรมหนึ่งไปยังอีกกิจกรรมหนึ่งบ่อยครั้ง
  • มีปัญหาในการมุ่งที่จะทำงานหนึ่งอย่าง
  • กลายเป็นคนเบื่องานในเวลาอันสั้น หากไม่ได้ทำงานที่สนุก
  • มีปัญหาในการมุ่งที่จะจัดระเบียบในการดำเนินงาน หรือ การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
  • มีปัญหาในการส่งการบ้าน และมักจะทำของหาย (เช่น ดินสอ ของเล่น งานที่ได้รับมอบหมาย) ที่จำเป็นต้องใช้ให้งานเสร็จ
  • ไม่ฟังเวลาที่ผู้อื่นพูด
  • ฝันกลางวัน สับสนได้ง่าย และเคลื่อนไหวช้า
  • ลำบากในการคิด การประมวลผล และไม่ถูกต้องเหมือนคนอื่น ๆ
  • ไม่ฟังตามคำแนะนำ

กลุ่มอยู่นิ่งไม่ได้จะมีอาการดังต่อไปนี้
  • อยู่ไม่เป็นที่ กระสับกระส่าย
  • พูดไม่หยุด
  • ชน แตะ เล่น กับทุกอย่างที่อยู่ในสายตา
  • มีปัญหากับการนั่งในที่ทานอาหาร นั่งในโรงเรียน ทำการบ้าน
  • มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา
  • มีปัญหาในการทำงานหรือกิจกรรมที่ใช้ความเงียบ
อาการอยู่นิ่งไม่ได้นี้มีแนวโน้มจะหายไปเมื่อมีอายุมากขึ้น และจะกลับกลายเป็นอาการ "ความระส่ำระส่ายภายใน" ในกลุ่มวัยรุ่นและกลายมาเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นสมาธิสั้น

ผู้ที่มีอาการขาดความยับยั้งชั่งใจ จะมีอาการดังต่อไปนี้
  • ไม่มีความอดทน
  • ระเบิดความคิดเห็นที่ไม่เหมาะสม แสดงอารมณ์โดยขาดการควบคุม และ แสดงโดยไม่ได้คำนึงถึงผลที่ตามมา
  • มีปัญหาในการรอคอสิ่งที่ต้องการ หรือขัดการสนทนาของบุคคลอื่น

คนที่มีสมาธิสั้นนั้นมักจะมีความยากลำบากในการเข้าสังคม เช่น การมีปฏิสัมพันธ์กันในสังคม การรักษามิตรภาพ ซึ่งเป็นอาการที่พบกับผู้ป่วยสมาธิสั้นทุกกลุ่ม เด็กและวัยรุ่นประมาณครึ่งหนึ่งที่เป็นสมาธิสั้นถูกปฏิเสธจากสังคมและเพื่อนร่วมงาน ในขณะที่มีเพียง 10-15% ของกลุ่มคนที่ไม่ได้เป็นคนสมาธิสั้นที่ถูกปฏิเสธจากสังคม ผู้ที่เป็นสมาธิสั้นมีสมาธิที่ไม่ปกติ ส่งผลให้มีความยากลำบากในการประมวลผลทั้งวัจนภาษาและอวัจนภาษา ซึ่งอาจจะส่งผลลบต่อการการมีปฏิสัมพันธ์ในสังคม พวกเขาอาจจะเหม่อลอยในวงสนทนา ทำให้ตามวงสนทนาไม่ทัน
เด็กที่มีสมาธิสั้นจะมีความยากลำบากในการจัดการความโกรธ  มีพัฒนาการทางการพูด เขียนหนังสือและเคลื่อนไหวที่ช้า ถึงแม้ว่าโรคสมาธิสั้นจะทำให้เกิดความบกพร่องเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในสังคมสมัยใหม่ เด็กหลายคนที่มีสมาธิสั้นสามารถรวมสมาธิเพื่อทำงานที่พวกเขาสนใจได้


ประเภทที่ 5 LD
        LD ย่อมาจากคำว่า learning disorder หรือในภาษาไทยใช้ชื่อว่า โรคการเรียนรู้บกพร่อง เป็นความผิดปกติของกระบวนการเรียนรู้ที่แสดงออกทางด้านการอ่าน การเขียนสะกดคำ การคำนวณและเหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของสมอง ทำให้ผลการเรียนของเด็กต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง โดยที่เด็กมีสติปัญญาอยู่ในระดับปกติและมีความสามารถด้านอื่นๆปกติดี
ชนิดของโรค LD
LD แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่
1.ความบกพร่องด้านการอ่าน
      ความบกพร่องด้านการอ่านเป็นปัญหาที่พบได้มากที่สุดของเด็ก LD ทั้งหมด เด็กมีความบกพร่องในการจดจำ พยัญชนะ สระ และขาดทักษะในการสะกดคำ จึงอ่านหนังสือไม่ออกหรืออ่านช้า อ่านออกเสียงไม่ชัด ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้ อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ จับใจความเรื่องที่อ่านไม่ได้ ทำให้เด็กกลุ่มนี้มีความสามารถในการอ่านหนังสือต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่างน้อย 2 ระดับชั้นปี
2. ความบกพร่องด้านการเขียนสะกดคำ
      ความบกพร่องด้านนี้ส่วนใหญ่จะพบร่วมกับความบกพร่องด้านการอ่าน เด็กมีความบกพร่องในการเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ไม่ถูกต้อง บางครั้งเรียงลำดับอักษรผิด จึงเขียนหนังสือและสะกดคำผิด ทำให้ไม่สามารถแสดงออก ผ่านการเขียนได้ตามระดับชั้นเรียน เด็กกลุ่มนี้จึงมีความสามารถในการเขียนสะกดคำต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่างน้อย 2 ระดับชั้นปี
3. ความบกพร่องด้านคณิตศาสตร์
       เด็กขาดทักษะและความเข้าใจค่าของตัวเลข การนับจำนวน การจำสูตรคูณ การใช้สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ จึงไม่สามารถคำนวณคำตอบจากการบวก ลบ คูณ หาร ตามกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ได้ เด็กกลุ่มนี้จึงมีความสามารถในการคิดคำนวณ ต่ำกว่าเด็กในวัยเดียวกันอย่างน้อย 2 ระดับชั้นปี

      สาเหตุของโรค LD 
                 การทำงานของสมองบางตำแหน่งบกพร่อง โดยเฉพาะตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และการใช้ภาษา กรรมพันธ์ุ มีพ่อแม่ หรือญาติพี่น้องเดียวกันมีปัญหา ความผิดปกติของโคโมโซม

  • ปัญหาพฤติกรรมและอารมณ์ที่อาจพบร่วมด้วย
เด็กมักรู้สึกหงุดหงิดและรู้สึกด้อยที่ตนเองทำไม่ได้ทัดเทียมเพื่อนๆ และอาจจะแสดงพฤติกรรม ดังนี้
    -หลีกเลี่ยงการอ่านหนังสือ
    -ไม่มีสมาธิในการเรียน ทำงานช้า ทำงานไม่เสร็จ ทำงานสะเพร่า
    -ความจำไม่ดี ได้หน้าลืมหลัง
    -รู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้
    -ไม่มั่นใจในตนเอง มักตอบว่า "ทำไม่ได้" "ไม่รู้"
    -อารมณ์ ขึ้นๆ ลงๆ หงุดหงิดง่าย ไม่อดทน
    -ก้าวร้าวกับเพื่อน พี่น้อง ครู หรือพ่อแม่
    -ขาดความภาคภูมิใจในตนเอง

       ปัญหาอย่างอื่น
              เด็ก LD มีปัญหาทางจิตเวชอื่นๆ ที่พบร่วมกันได้ถึงร้อยละ 40 – 50 เช่น โรคสมาธิสั้น ความบกพร่องด้านภาษาและการสื่อสาร ปัญหาการประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อมือและสายตา
      
 การช่วยเด็ก LD 
การช่วยเหลือทางการแพทย์
       เนื่องจากโรค LD สามารถเกิดรวมกับโรคอื่นๆได้บ่อย เช่น โรคสมาธิสั้น ดังนั้นแพทย์จึงมีบทบาทในการประเมิน วินิจฉัยภาวะต่างๆที่เด็กมี ร่วมถึงให้การรักษาภาวะเหล่านั้น เช่น โรคสมาธิสั้น หากได้รับยาช่วยสมาธิ อาการของโรคก็จะดีขึ้นมาก
การช่วยเหลือทางการศึกษา
        โรงเรียนควรจัดทำแผนการเรียนรายบุคคลให้สอดคล้องกับระดับความบกพร่องของเด็กแต่ละด้าน โดยทำความเข้าใจกับครูถึงปัญหาและความบกพร่องของเด็ก เน้นการสอนเสริมในทักษะที่บกพร่อง เช่น การสะกดคำ อ่าน เขียนสอนเป็นกลุ่มย่อยหรือตัวต่อครั้งละ 30-45 นาที สัปดาห์ละ 4-5 วัน การช่วยอ่านบทเรียนให้ฟัง เพื่อให้เด็กได้เนื้อหา ความรู้ ได้เร็วขึ้น การให้เวลาในการทำสอบเพิ่มขึ้น เพื่อให้เด็กมีเวลาเพียงพอในการ อ่านโจทย์ และเขียนตอบ จะช่วยให้เด็กเรียนได้ดีขึ้น และควรส่งเสริมทักษะด้านอื่นๆ ที่เด็กสนใจ เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ เพื่อให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง
การช่วยเหลือจากครอบครัว
         อธิบายให้เด็กและครอบครัวทราบถึงปัญหาและความบกพร่องเฉพาะด้านของเด็ก รวมทั้งความรู้สึกของเด็กที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ เปลี่ยนพฤติกรรมจากการตำหนิ ลงโทษ เป็นความเข้าใจ และสนับสนุนในการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของเด็ก ชื่นชมเมื่อเด็กทำสำเร็จแม้ในเรื่องเล็กน้อยให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง


ประเภทที่ 6 ปัญญาเลิศ

ปัญญาเลิศคืออะไร 
           เด็กปัญญาเลิศ (Gifted child) หรือเด็กอัจฉริยะ คือเด็กที่มีระดับสติปัญญาสูงมาก (I.Q. อาจสูงถึง 130-140) เด็กกลุ่มนี้ก็จะดู คล้ายเด็กสมาธิสั้นครับ เนื่องจากความที่เขาฉลาดมาก จึงมักมีความอยากรู้อยากเห็น มีพลังงานในตัวเองมาก นอกจากนี้เขาจะมีสมาธิดีมากใน เรื่องซึ่งตนเองสนใจ แต่ถ้าเรื่องไหนไม่อยู่ในความสนใจ ก็อาจไม่สนใจเลย จึงดูคล้ายเด็กสมาธิสั้นได้ แต่เรื่องไหนที่สนใจ เขาก็จะพยายามค้นคว้าจนมีความรู้เกินวัย ผู้เชี่ยวชาญบางท่านกำหนดเกณฑ์ของเด็กปัญญาเลิศ คือระดับสติปัญญาหรือไอคิว เกิน 130 บางท่านระดับความสามารถในการเรียน สูงกว่า 2 ชั้นปี เช่น เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แต่ความสามารถในการเรียนเทียบเท่ากับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เด็กปัญญาเลิศจะเฉลียวฉลาดกว่าเด็กวัยเดียวกัน ต้องการการปรับเปลื่ยนการเลี้ยงดู และการสอน เพื่อศักยภาพสูงสุดของเด็ก คุณพ่อคุณแม่ และคุณครูที่ดูแลเด็กปัญญาเลิศมักบอกตรงกันอย่างหนึ่งว่า ''เหนี่อย'' นาทีแรกเด็กปัญญาเลิศอาจพูดจาเกินวัย แบบผู้ใหญ่ แต่อีกนาทีต่อไปอาจหงุดหงิด อาละวาดเพราะไม่ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการ 

รู้ได้อย่างไรว่าลูกปัญญาเลิศ 

         จากการศึกษาวิจัยในรัฐ มินิโซตา ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ ปี ค.ศ. 1994 -1995 โดยศึกษาเด็กปัญญาเลิศ 241 คน อายุตั้งแต่ 2-12 ปีระดับสติปัญญาตั้งแต่ 160-237 พบว่าร้อยละ 82 ของพ่อแม่ต้องการการช่วยเหลือในเรื่องการตัดสินใจเกี่ยวกับการศึกษาของลูก 

ร้อยละ50 ของพ่อแม่บอกว่าลูกนอนน้อยกว่าเด็กอื่นๆ 
ร้อยละ94 ของเด็กมีสมาธิต่อเนื่องนานกว่าเด็กวัยเดียวกัน 
ร้อยละ91 มีพัฒนาการทางภาษาเร็ว 
ร้อยละ60 มีพัฒนาการทางกล้ามเนื้อเร็ว 
เด็กปัญญาเลิศเริ่มพูดคำแรกอายุเฉลี่ยเพียง 9 เดือน เริ่มอ่านหนังสือง่ายๆ ได้อายุ 4 ปี 
ร้อยละ 52 ไวต่อความรู้สึกเจ็บปวด 

      เราลองมาดูว่าลูกหลาน ของเรามีลักษณะเข้าข่ายเด็กปัญญาเลิศหรือไม่ โดยจะมีลักษณะดังต่อไปนี้

-เป็นนักคิดเรื่องของเหตุผล 
-มักเรียนรู้เรื่องต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว 
-สามารถจดจำคำศัพท์ ต่างๆ ได้จำนวนมาก 
-มีความจำเป็นเยี่ยม 
-ถ้าสนใจอะไรแล้วจะมีสมาธิสนใจ จดจ่อได้เป็นเวลานาน 
-เป็นคนอ่อนไหว จึงรู้สึกเจ็บปวด ผิดหวังได้ง่าย 
-คาดหวังว่าทุกอย่างต้องสมบูรณ์ (Perfectionistic) ในวัยอนุบาลเด็กปัญญาเลิศบางคนอาจจะค่อนข้างเจ้ากี้ เจ้าการ พยายามจัดการงานหรือเพื่อนๆ ตามที่ตัวเองต้องการ และจะผิดหวังง่ายเมื่อคนอื่นไม่เห็นด้วย หรือไม่ร่วมมือ เมื่อโตขึ้นเข้าวัยประถม เด็กปัญญาเลิศมักจะมีมาตรฐานสูง ทุกสิ่งทุกอย่างต้องดีพร้อม ประกอบกับชอบสั่งผู้อื่น ชอบทำตัวเป็นเจ้านาย พยายามบริหารจัดการเพื่อน ครู ไปจนถึงพ่อแม่ 
-ตึงเครียดง่าย การที่เด็กปัญญาเลิศมักจะเครียดง่าย อ่อนไหวง่าย อาจทำให้ถูกผู้ใหญ่มองว่าดื้อ ต่อต้านคุณพ่อคุณแม่หรือคุณครู โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าถูกดุว่าหรือลงโทษ หรือถูกมองว่าชอบทำอะไรแตกต่างจากคนอื่น 
-มีความรู้สึกผิดชอบ ชั่วดีสูง 
-มีความอยากรู้อยากเห็นมากกว่าเด็กทั่วไป 
-หมกมุ่นเฉพาะเรื่องที่ตนเองสนใจ 
-มีพลังมากในการทำสิ่งต่างๆ อาจถูกวินิจฉัยผิดเป็นโรคสมาธิสั้น เนื่องจากเด็กปัญญาเลิศมักมีลักษณะอ่อนไหว ตึงเครียดง่าย หุนหันพลันแล่น อดทนรออะไรไม่ได้ ค่อนข้างซน อยู่ไม่นิ่ง จึงอาจถูกเข้าใจผิดว่าเป็นเด็กสมาธิสั้น อย่างไรก็ตามเด็กปัญญาเลิศส่วนหนึ่งอาจเป็นโรคสมาธิสั้นร่วมด้วย
-ชอบคบเพื่อนที่อายุมากกว่าหรือผู้ใหญ่ 
-มีความสนใจในเรื่องต่างๆ มากมาย 
-มีอารมณ์ขัน แต่มักเป็นอารมณ์ขันที่เพื่อนไม่เข้าใจ 
-เป็นนักอ่านตัวยง ถ้าอายุยังน้อย เช่นวัยก่อนอนุบาล อ่านหนังสือเองไม่ได้ ก็ชอบที่จะให้พ่อแม่อ่านให้ฟัง เด็กส่วนใหญ่ถ้ายังไม่ได้เข้าโรงเรียนมักอ่านหนังสือไม่ได้ โรงเรียนอนุบาลส่วนใหญ่ก็มักจะ ยังไม่ได้สอนการอ่าน แต่เด็กปัญญาเลิศบางคนอ่านหนังสือได้เร็วกว่าปกติ และอ่านได้ตั้งแต่วัยอนุบาล 
-ผดุงความยุติธรรม ชอบความถูกต้อง เป็นธรรม 
-การตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ดีเกินวัย 
-เป็นนักสังเกตการณ์ชั้นยอด 
-มีจินตนาการกว้างไกล 
-มีความคิดสร้างสรรค์ 
-ชอบซักถาม 
-มีอัจฉริยภาพด้านการคำนวณ 
-มีความสามารถสูงในการต่อจิ๊กซอว์ 
-เด็กปัญญาเลิศมักมีความมั่นใจในความสามารถเกี่ยวกับเรื่องการเรียนของตนเองสูง นอกจากนี้แล้ว ยังต้องการหลักสูตรการศึกษาซึ่งท้าทายมากกว่าเด็กทั่วๆ ไป 
-เด็กปัญญาเลิศบางคนอาจมีพรสวรรค์เป็นพิเศษในด้านดนตรี ศิลปะ วรรณกรรม หรือการคิดแบบวิทยาศาสตร์ 

ความแตกต่างระหว่างเด็กฉลาดและเด็ก gifted 

         1. เด็กฉลาด - รู้คำตอบ                               เด็กกิ๊ฟท์เต็ด - ตั้งคำถาม 
         2. เด็กฉลาด - ถูกทำให้สนใจ
                       เด็กกิ๊ฟท์เต็ด - อยากรู้อยากเห็นมาก 
                               เรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยง่าย
         3. เด็กฉลาด - มีความตั้งใจ เมื่อต้องการ       เด็กกิ๊ฟท์เต็ด - มีความสนใจเรียนรู้ซึ่งเกิด                                      เรียนรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง                                       เองโดยธรรมชาติและมาจาก                                                                                                     ใจโดยแท้
         4. เด็กฉลาด - เรียนหนัก                              เด็กกิ๊ฟท์เต็ด - เรียนสบายๆ เหมือนไม่ค่อย                                                                                                        สนใจ แต่ทำคะแนนได้ดี 
         5. เด็กฉลาด - ตอบคำถามได้เสมอ                เด็กกิ๊ฟท์เต็ด - ตั้งคำถามกับคำตอบที่ได้ยิน 
         6. เด็กฉลาด - ชอบอยู่ในแวดวงเด็ก              เด็กกิ๊ฟท์เต็ด - ชอบอยู่กับผู้ใหญ่หรือเด็กที่                                    เท่ากัน                                                          โตกว่า อายุ  

         7. เด็กฉลาด - ความจำดีมาก                        เด็กกิ๊ฟท์เต็ด - เดาเก่ง 
         8. เด็กฉลาด - เรียนรู้ง่ายและเร็ว                   เด็กกิ๊ฟท์เต็ด - เบื่อง่าย มักจะรู้คำตอบล่วง                                                                                                        หน้า 
         9. เด็กฉลาด - เป็นผู้ฟังที่ดี                           เด็กกิ๊ฟท์เต็ด - แสดงความรู้สึกและความคิด                                                                                                      เห็นอย่างเต็มที่ 
        10. เด็กฉลาด - พอใจในผลงาน                    
เด็กกิ๊ฟท์เต็ด - ติเตียนผลงานตัวเอง
                                ของตนเสมอ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น