วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557





บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 5
วันจันทร์ ที่ 15 กันยายน พ.ศ.2557



ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ใหญ่ๆ คือ

1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง
    มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา โดยเรียกทั่วไปว่า "เด็กปัญญาเลิศ"

    เด็กปัญญาเลิศ (Gifted Child)
         -เด็กที่มีคววามสามรถทางสติปัญญา
         -มีความสมารถถนัดเฉพาะทางสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน

   ลักษณะของเด็กปัญญาเลิศ
        -พัฒนาการทางร่างกายและจิตใจสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
        -เรียนรู้สิ่งต่างๆได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
        -อยากรู้อยากเห็นอย่างจริงจัง ชอบซักถาม
        -มีเหตุผลในการแก้ปัญหา การใช้สามัญสำนึก
        -จดจำได้รวดเร็วและแม่นยำ
        -มีความรู้ใช้ศัพท์เกินวัย
        -มีความคิดริเริ่ม มีวิธีการคิดและแนวคิดแปลกๆ
        -เป็นคนตื่นตัว เฉียบแหลม ว่องไว และช่างสังเกต
        -มีแแรงจูงใจ และมีความมานะบากบั่น มีความจริงใจในการทำงาน
        -ชอบแสวงหาสิ่งท้าทายความคิดความอ่าน 

2. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
    1. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Children with Intellectual Disabilities)
        หมายถึง เด็กที่มีสติปัญญาหรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบกับเด็กในระดับอายุเดียวกัน 
        มี 2 กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้า และเด็กปัญญาอ่อน

       เด็กเรียนช้า 
            -สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้
            -มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติ
            -ขาดทักษะในการเรียนรู้
            -มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย
            -มีระดับปัญญา (IQ)ประมาณ 71-90

       สาเหตุเรียนช้า
       1.ภายนอก
           -เศรษฐกิจครอบครัว
           -การสร้างเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก
           -สภาวะทางอารมณ์ของคนในครอบครัว
           -การเข้าเรียนไม่สม่ำเสมอ
           -วิธีการสอนไม่มีประสิทธิภาพ

      2. ภายใน
          -พัฒนาการช้า 
          -การเจ็บป่วย

เด็กปัญญาอ่อน
-ระดับสติปัญญาต่ำ
-พัฒนาการล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย
-มีพฤติกรรมการปรับตนบกพร่อง
-อาการแสดงก่อนอายุ 18

 พฤติกรรมการปรับตัว
-สื่อความหมาย
-การดูแลตนเอง
-การดำรงชีวิตภายในบ้าน
-การปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม
-การใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน
-การควบคุมตนเอง
-นำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน
-การใช้เวลาว่าง
-การทำงาน
-มีสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยเบื้องต้น

เด็กปัญญาอ่อนแบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ)ได้ 4 กลุ่ม
1. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20 
2. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-30
    เรียกโดยทั่วไปว่า C.M.R. (Custodial Mental Retardation)
3. เด็กปัญญาอ่อนปานกลาง IQ  35-49
    เรียกโดยทั่วไปว่า T.M.R. (Trainable Mentally Retarded)
4. เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70
    เรียกโดยทั่วไปว่า E.M.R. (Educable Mentally Retarded)

ลักษณะเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
-ไม่พูดหรือพูดได้ไม่สมวัย
-ช่วงความสนในใจสั้น
-ความคิด และอารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย รอคอยไม่ได้
-ทำงานช้า
-รุนแรงไม่มีเหตุผล
-อวัยวะบางส่วนผิดปกติ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
-ช่วยตนเองได้น้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน


2. เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน (Children with Hearing Impaired)
    หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องหรือสูญเสียการได้ยิน เป็นสาเหตุให้การรับฟังเสียงต่างๆได้ไม่ชัดเจน มี 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และเด็กหูหนวก
เด็กหูตึง
1. หูตึงระดับน้อย ได้ยินตั้งแต่ 26-40 dB
2. หูตึงระดับปานกลาง ได้ยินตั้งแต่ 41-55 dB
3. หูตึงระดับมาก ได้ยินตั้งแต่ 56-70 dB
4. หูตึงระดับรุนแรง ได้ยินตั้งแต่ 71-90 dB

เด็กหูหนวก
-เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน
-เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้
-ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 dB ขึ้นไป

ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
-ไม่ตอบสนองเสียงพูด เสียงพูด มักตะแคงหูฟัง
-ไม่พูด มักแสดงท่าทาง
-พูดไม่ถูกไวยากรณ์
-พูดเสียงแปลกมักเปล่งเสียงพูด
-พูดด้วยเสียงต่ำ หรือด้วยเสียงที่ดังเกินความจำเป็น
-เวลาฟังมักจะมองปากของผู้พูด


3. เด็กที่บกพร่องทางการเห็น  (Children with Visual Impairments)
   -เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสง เห็นเลือนลาง
-มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง
-สามารถเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ
-มีลานสายตากว้างไม่เกิด 30 องศา

 จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ เด็กตาบอด และเด็กตาบอดไม่สนิท
เด็กตาบอด
-เด็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลย
-ต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นในการเรียนรู้
-มีสายตาข้างดีมองเห็นได้ในระยะ 6/60,20/200 ลงมาจนถึงบอดสนิท
-มีเลานสายตาเฉลี่ยสูงสุดแคบกว่า 5 องศา

เด็กตาบอดไม่สนิท
-เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา
-สามารถมองเห็นบ้างแต่ไม่เท่ากับเเด็กปกติ
-เมื่อทดสอบสายตาข้างดีจะอยู่ในระดับ 6/18,20/60.6/60,20/200 หรือน้อยกว่านั้น
-มีลานสายตาโดยเฉลี่ยไม่เกิน 30 องศา

ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
-เดินงุ่มง่าม ชน และสดุดวัตถุ
-มองเห็นสีผิดไปจากปกติ
-มักบ่นว่าปวดศีรษะ คลื่นไส้ ตาลาย คันตา
-ก้มศีรษะชิดกับงาน หรือของเล่นที่วางอยู่ข้างหน้า
-เพ่งตา หรี่ตา หรือปิดตาข้างหนึ่ง เมื่อใช้สายตา
-ตาและมือไม่สัมพันธ์กัน
-มีความลำบากในการจำ แยกแยะรูปเรขาคณิตไม่ได้นอกจากการสัมผัส







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น