วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557




บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 3
วันจันทร์ ที่ 1 กันยายน พ.ศ.2557



เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Children with Special Needs)

ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

1. ทางการแพทย์ มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า "เด็กพิการ" หมายถึง เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสียสมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความพกพร่องทางกาย การสูญเสียสมรรถภาพทางปัญญา ทางจิตใจ

2. ทางการศึกษา 
    ให้ความหมายเด็กที่มีความต้องการพิเศษไว้ว่า เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตนเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติ ทางด้านกล้ามเนื้อ หลักสูตรกระบวนการที่ใช้และการประมวลผล

สรุปได้ว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง
-เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควร จากการให้การช่วยเหลือ และการสอนตามปกติ
-มีสาเหตุจากความบกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์
-จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้นช่วยเหลือ การบำบัดและฟื้นฟู
-จัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับลักษณะและความต้องการของเด็กแต่ละบุคคล


พฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

พัฒนาการ
-การเปลี่ยนแลงในด้านการทำหน้าที่ และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล 
-ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
-เด็กมีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
-พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้านหรือทุกด้าน
-พัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่ง อาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้

ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
-ปัจจัยทางด้านชีวภาพ
-ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด
-ปัจจัยกระบวนการคลอด
-ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด


สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางร่างกาย
1. พันธุกรรม
-เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิดหรือสังเกตุได้ชั่วระยะหลังเกิด มักมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย
 Albinism โรคไม่มีเม็ดสี ขาวทั้งตัว ตามีสีแดง
 Neurofibromatosis โรคท้าวแสนปม ตุ่มตามตัว
 Cleft Lip/Cleft Palate โรคปากแหว่งเพดานโหว่
 ธาลัสซีเมีย

2. โรคของระบบประสาท
-เด็กที่ความบกพ่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการหรืออาการแสดงทางระบบประสาทร่วมกัน
-พบบ่อยคืออาการชัก

3. การติดเชื้อ
-การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติ อาจมี ตับ ม้ามโต การได้ยินบกพร่อง การมองบกพร่อง
-นอกจากนี้การติดเชื้อรุนแรงภายหลังเกิด เช่น สมองอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ เป็นสาเหตุที่พบได้บ้าง

4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
-โรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขไทย คือ ไทรอยด์ฮอร?ดมนในเลือดต่ำ

5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
-การเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักแรกเกิดน้อย และภาวะการขาดออกซิเจน

6. สารเคมี
-ตะกั่วเป็นสารที่มีผลกระทบต่อเด็ก และมีการศึกษามากที่สุด
-มีอาการซึมเศร้า เคลื่อนไหวช้า ผิวดำหมองคล้ำเป็นจุดๆ
-ภาวะตับเป็นพิษ
-ระดับสติปัญญาต่ำ
 Fetal Alcohol Syndrome ,FAS โรคที่เกิดจากพ่อแม่ดื่มแอลกอฮอร์
 นิโคติน โรคที่เกิดจากพ่อแม่ดูดบุหรี่

7. การเลี้ยงดูไม่เหมาะสมรวมทั้งขาดสารอาหาร

*อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
                         
                     -มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน
                     -ปฏิกิริยาสะท้อน (primitive reflex) ไม่หายไป แม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป

แนวทางการวินิจฉัย เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
                      
                    1. การซักประวัติ
                    2. การตรวจร่างกาย
                    3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
                    4. การประเมินพัฒนาการ

การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ
                   
                    -แบบทดสอบ Denven ll
                    -Gesell Drawing Test
                    -แบบประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อายุแรกเกิด-5 ปี สถาบันราชานุกูล






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น