วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557




บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 14
วันจันทร์ ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557


วันนี้อาจารย์บอกแนวข้อสอบ ให้รางวัลเด็กดี และอวยพรให้นักศึกษาสอบได้กันทุกคน สาธุๆๆ




วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557





บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 13
วันจันทร์ ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557



เด็กสมาธิสั้น (ADHD)

การดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กสมาธิสั้น

  1. การใช้ยา
  • ปัจจุบันถือเป็นมาตรฐานการศึกษา
  • ยาที่ใช้มีความปลอดภัย และมีผลข้างเคียงน้อย
  • สามารถช่วยให้เด็กมีสมาธิดีขึ้น สงบขึ้น และควบคุมตนเองได้ดีขึ้น
     2. การปรับพฤติกรรม
  • จัดกิจวัตรประจำวันของเด็ก ให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอตามเวลาที่กำหนดไว้
  • ฝึกฝนให้เด็กมีสมาธิกับสิ่งที่ทำได้ต่อเนื่อง ประมาณ 20-30 นาที
  • ให้ความสนใจเมื่อเด็กทำตัวดี หรือเข้ามาช่วยเหลืองานบางอย่าง
  • ลงโทษให้ถูกวิธี เช่น ห้ามตี ห้ามให้เด็กทำในสิ่งที่เด็กชอบ
     3. การปรับสภาพแวดล้อม
  • สิ่งแวดล้อมต้องไม่กระตุ้นเด็กมากจนเกินไป
  • จัดเก็บของเล่นต่างๆเข้าที่ ให้พ้นจากสายตาเด็ก
  • เวลาทำงาน ควรจัดมุมสงบ ห้องต้องไม่กว้างเกินไป ไม่มีคนเดินไปมา
การสื่อสารกับเด็กสมาธิสั้น
  • สังเกตว่าเด็กอยู่ในสภาวะที่พร้อม หรือมีสมาธิ
  • ควรมีภาษาท่าทาง และการสัมผัสร่วมไปด้วยกับการพูด
  • ใช้คำพูดที่กระชับ ได้ใจความชัดเจน
  • หากเด็กกำลังเหม่อ วอกแวก หรือไม่สนใจ ควรเรียกหรือแตะตัวอย่างนุ่มนวลให้เด็กรู้สึกตัวและหันมาสนใจเสียก่อน จึงค่อยพูดคุยกับเด็ก
  • ควรเข้าไปหาเด็กและใช้กระทำร่วมด้วย เช่น จูง ลาก ไปด้วยความนุ่มนวล
  • ในกรณีมีหลายอย่างให้เด็กทำ ควรบอกทีละอย่าง ให้เสร็จทีละอย่าง แล้วค่อยบอกในสิ่งที่จะให้ทำต่อไป หรือการย่อยงานนั่นเอง
กิจกรรมบำบัดสำหรับเด็กสมาธิสั้น
  • Physical Exertion ลดภาวะไม่อยู่นิ่ง
  • Self Control ควบคุมตนเอง
  • Relaxation Training ผ่อนคลาย
โรงเรียนสำหรับเด็กสมาธิสั้น
  • เด็กสมาธิสั้น สามารถเรียนในโรงเรียนปกติทั่วไปได้
  • ควรเป็นโรงเรียนที่คุณครูมีความรู้ ความเข้าใจในโรคสมาธิสั้นดี
  • ให้ความร่วมมือในแนวทางช่วยเหลือต่างๆอย่างเต็มที่
  • สัดส่วนจำนวนเด็กต่อห้องเรียนน้อย
  • โรงเรียนที่มีพื้นที่สนามเด็กเล่น หรือสนามกีฬาที่กว้าง
บทบาทของครู
  • ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
  • ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
  • จัดให้เด็กนั่งติดนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
  • ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอริยาบทบ้าง
  • ใช้วิธีลดระยะการทำงานให้สั้นลง แต่ทำบ่อยกว่าคนอื่น
  • ไม่ควรลงโทษรุนแรง
  • ให้ความสนใจ และชื่นชมเมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ดี
  • การสื่อสารกับเด็กให้ถูกวิธี
หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
  • สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ
  • โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
  • ศูนย์การศึกษาพิเศษ
  • โรงเรียนเฉพาะความพิเศษ
  • สถาบันราชานุกูล
  • มูลนิธิสถาบันแสงสว่าง





บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 12
วันจันทร์ ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557



           คาบนี้อาจารย์ได้ให้ความอนุเคราะห์กลุ่มของพวกเราเป็นอย่างมาก เนื่องจากในวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 มีงานใหญ่ที่พวกเราต้องจัด อาจารย์จึงได้เสียสละเวลาที่มีค่าให้กับพวกเรา
ได้ฝึกซ้อมกัน ดิฉันขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูง ที่เสียสละเวลาให้พวกเรานะค่ะ 
ด้วยความเคารพอย่างสูง

ประสบการณ์ที่ได้จากงานนี้



กิจกรรม


วันที่ฝึกซ้อม วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557




เสร็จงาน











บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 11
วันจันทร์ ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


เนื้อหาที่เรียนวันนี้

การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

วัตถุประสงค์
-เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้
-เพื่อส่งเสริมให้เด็กกล้าคิกกล้าแสดงออก
-เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ที่ถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ได้

เป้าหมาย
ทั่วไป
-เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้
-เด็กสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
เฉพาะ
-เด็กสามารถพัฒนาตนเองได้ตามขั้นตอน
-เด็กสามารถแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม

ผลที่ได้
-พัฒนาทักษะด้านต่างๆได้
-สามารถปรับตัวตามสภาพแวดล้อมและช่วยเหลือตนเองได้
-สังคมยอมรับมากขึ้น
-ลดภาวะปัญหาทางพฤติกรรม
-คุณภาพชีวิตดีขึ้น




Down's Syndrome
  • เพื่อให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
  • ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
  • เน้นการดูแลแบบองค์รวม
แนวทางการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
  1. ด้านสุขภาพอนามัย
  2. ด้านการส่งเสริมพัฒนาการ
  3. การดำรงชีวิตประจำวัน
  4. การฟื้นฟูสมรรถภาพ
การปฏิบัติของบิดา มารดา
  • ยอมรับความจริง
  • เด็กดาวน์มีพัฒนาการเป็นขั้นตอนเช่นเดียวกับเด็กทั่วไป
  • ให้ความรักและความอบอุ่น
  • การตรวจภายใน ตรวจหามะเร็งปากมดลูก และเต้านม
  • การคุมกำเนิดและการทำหมัน
  • การสอนเพศศึกษา
  • ตรวจโรคหัวใจ





Autistic
แนวทางการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ

  1. ส่งเสริมความเข้มแข็งครอบครัว
  2. ส่งเสริมความสามารถเด็ก
  3. พฤติกรรมบำบัด
  4. ส่งเสริมพัฒนาการ
  5. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์
  6. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
  7. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
  8. การรักษาด้วยยา
  9. การบำบัดทางเลือก








บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 10
วันจันทร์ ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

           

           อาจารย์บอกคะแนนสอบ สอบปลายภาคต้องได้คะแนนดีกว่านี้ สู้ตายๆๆๆ







บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 9
วันจันทร์ ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557


สอบกลางภาค


วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557



บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 8
วันจันทร์ ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เนื้อหาที่เรียน
     เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Childern with Behavioral and Emotional Disorders)
     ***เป็นอาการที่พบเยอะที่สุดในเด็กปฐมวัย

  • มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ
  • แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองและผู้อื่น
  • มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
  • เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ในอยู่ในสภาพปกตินานๆไม่ได้
  • เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
  • ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์

  • ความวิตกกังวล(Anxiety)ซึ่งทำให้เด็กมีนิสัยขี้กลัว
  • ภาวะซึมเศร้า(Depression)มีความเศร้าที่อยู่ในระดับที่สูงเกินไป
  • มีปัญหาทางสุขภาพ และขาดแรงกระตุ้นหรือความหวังในชีวิต
การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
ด้านความประพฤติ(Conduct Disorders)

  • ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
  • ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
  • กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น
  • เอะอะและหยาบคลาย
  • หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
  • ใช้สารเสพติด หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ
ด้านความตั้งใจและสมาธิ(Attention and Concentration)

  • จดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น(Short attention span)อาจไม่เกิน 20 วินาที
  • ถูกสิ่งต่างๆรอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
  • งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด
สมาธิสั้น(Attention Deficit)

  • มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆได้ หยุกหยิกไปมา
  • พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
  • มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ
การถอนตัวหรือล้มเลิก(Withdrawal)

  • หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
  • เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
  • ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก
ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย(Function disorder)

  • ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน(Eating Diorder)
  • การอาเจียนโดยสมัครใจ(Voluntary Regurgitation)
  • การปฏิเสธที่จะรับประทาน
  • รับประทานสิ่งที่รับประธานไม่ได้
  • โรคอ้วน(Obesity)
  • ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจราระและปัสสาวะ(Elimination Disorder)
ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง

  • ขาดเหตุผลในการคิด
  • อาการหลงผิด(Delusion)
  • อาการประสาทหลอน(Hallucination)
  • พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง
สาเหตุ

  • ปัจจัยทางชีวภาพ(Biology)คือ ตัวของเด็กเอง
  • ปัจจัยทางจิตสังคม(Psychosocial)คือครอบครัว สิ่งแวดล้อม
ผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อเด็ก

  • ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เหมือนเด็กปกติ
  • รักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้
  • มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน
  • มีความคับข้องใจ มีความเก็บกดอารมณ์
  • แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย 
  • มีความหวาดกลัว
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรง

  • เด็กสมาธิสั้น(Childern with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
  • เด็กออทิสติก(Autistic)
เด็กสมาธิสั้น(Childern with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
ADHDเป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวช มีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ

  • Inattentiveness
  • Hyperactivity
  • Impulsiveness
Inattentiveness(สมาธิสั้น)
  • ทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวก ไม่มีสมาธิ
  • ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ
  • มักใจลอยเหลือเหม่อลอยง่าย
  • เด็กเล็กๆ จะเล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ
  • เด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหลง ไม่ครบ ไม่ละเอียด
Hyperactivity (ซนอยู่ไม่นิ่ง)
  • ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก
  • เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
  • เหลียวซ้ายแลขวา
  • ยุกยิก เแกะโน่นเกานี่
  • อยู่ไม่สุข ปีนป่าย
  • นั่งไม่ติดที่
  • ชอบคุยส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง
Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)
  • ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้ มักทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด วู่วาม
  • ขาดความยับยั้งชั่งใจ
  • ไม่อดทนต่อการรอคอยหรือกฎระเบียบ
  • ไม่อยู่ในกติกา
  • ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง
  • พูดโพล่ง ทะลุกลางปล้อง
  • ไม่รอคอยให้คนอื่นพูดจบก่อน ชอบมาสอดแทรกเวลาคนอื่นคุยกัน
สาเหตุ
  • ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง เช่น โดปามีน นอร์อิพิเนฟริน
  • ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัว อยู่ที่สมองส่วนหน้า
  • พันธุกรรม
  • สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสมาธิสั้น
  • สมาธิสั้น ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกผิดวิธี ตามใจมากเกินไป หรือปล่อยปละละเลยจนเกินไป และไม่ใช่ความผิดของเด็กที่ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ แต่ปัญหาอยู่ที่การทำงานของสมองที่ควบคุมเรื่องสมาธิของเด็ก
ยารักษาโรคสมาธิสั้นที่มีใช้ในประเทศไทย
มี 2 กลุ่มหลักๆ


ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
  • อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน
  • ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของเล่นใช้ในวัยทารก
  • ดูดนิ้ว กัดเล็บ
  • หงอยเหงาเศร้าซึม การหนีสังคม
  • เรียกร้องความสนใจ
  • อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า
  • ขี้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว
  • ฝันกลางวัน
  • พูดเพ้อเจ้อ
เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps)
  • เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
  • เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
  • เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
  • เด็กที่หนูหนวกและตาบอด